หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/7

    กลุ่มยาถ่าย

    ผักกาดขาว

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Brassica chinensis  (L.) Jusl.

    ชื่อสามัญ  Chinese White Cabbage

    วงศ์  Brassicaceae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชอายุปีเดียว มีระบบรากตื้น ใบมีลักษณะห่อปลียาวหรืออาจห่อหลวมๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ใบมีสีขาวถึงสีเขียวอ่อน เป็นพืชวันยาวดอกมีสีเหลืองยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผักกาดขาวส่วนใหญ่มีการผสมข้ามโดยแมลงและผึ้ง
    ส่วนที่ใช้ :
    ราก ต้น

    สรรพคุณ แก้หวัด  แก้ท้องผูก แก้ผิวหนังอักเสบจากการแพ้
    วิธีใช้และปริมาณการใช้ :

    • ราก -  แก้หวัด แก้ท้องผูก ใช้รากผักกาดขาว 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม

    • ต้น -  แก้พิษจากรับประทานมันสำปะหลังดิบ ใช้ต้น ต้มน้ำดื่ม
           -   ผิวหนังอักเสบ จากการแพ้ ใช้ผักกาดขาวสด ตำพอก

    กลุ่มยาถ่าย

    มะขามแขก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Senna alexandrina P. Miller

    ชื่อสามัญ  Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna

    วงศ์  Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบแห้ง และฝักแห้ง ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)ไม้พุ่ม สูง 0.5 – 1.5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน
    ส่วนที่ใช้

    สรรพคุณ :

    • บและฝัก  -  ใช้เป็นยาถ่ายที่ดี ใบไซ้ท้องมากกว่าฝัก  

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
             
    ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ ใช้วิธีบดใบแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย)  เพื่อแต่งรสและบรรเทาอาการไซ้ท้อง
              มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว
    ข้อห้าม :  ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน
    สารเคมี :  ใบและฝักพบสารประกอบพวก anthraquinones เช่น sennoside A.B.C.D. aloe emodin , emodin , rhein  , physcion , และสาร anthrones dianthrones

    กลุ่มยาถ่าย

    แมงลัก

     

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Ocimum basilicum  L.f. var. citratum Back.

    ชื่อสามัญ  Hairy Basil

    วงศ์ Apiaceae ( Labiatae )

    ชื่ออื่น :   ก้อมก้อขาว มังลัก

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตรง โคนต้นแข็ง สูงประมาณ 40-65 ซ.ม. แตกกิ่งก้าน ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยว สีใบสีนวล ใบมีขนอ่อน ๆ ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ช่ออาจเป็นช่อเดี่ยว หรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ ดอกบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน กลีบรองดอกจะคงทนและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปาก ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านช่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ดอกตรงกลางจะบานก่อน และช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล ขนาดเล็ก คือเมล็ดแมงลัก รูปร่างรูปรีไข่ สีดำ
    ส่วนที่ใช้
    เมล็ด และใบ

    สรรพคุณ :

    • เมล็ด  -  ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

    • ใบ -  ใช้ขับลม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา  แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็นยาถ่าย
    สารเคมี
    :
              เมือกจากเมล็ด พบ
    D-xylos, D-glucose, D-galactose, D-mannose, L-arabinose, L-rhamnose, uronic acid , oil, polysaccharide และ mucilage
              ส่วนใบ  พบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย borneol L-B-cadinene, 1-8-cineol, B-caryophyllene, eugenol

    กลุ่มยาถ่าย

    ว่านหางช้าง (ว่านแม่ยับ)

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Belamcanda chinensis  (L.) DC.

    ชื่อสามัญ Black Berry Lily, Leopard Flower

    วงศ์   IRIDACEAE

    ชื่ออื่น :  ว่านมีดยับ

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.6 - 1.2 เมตร มีเหง้าเลื้อยตามแนวขนานกับพื้นดิน ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงซ้อนสลับ กว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 30 - 45 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย ผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกอ้า และกระดกกลับไปด้านหลัง
    ส่วนที่ใช้
    ราก เหง้าสด ใบ เนื้อในลำต้น

    สรรพคุณ :

    • ราก เหง้าสด  - แก้เจ็บคอ  

    • ใบ -  เป็นยาระบายอุจจาระและแก้ระดูพิการของสตรีได้ดี

    • นื้อในลำต้น 
      -  เป็นยาบำรุงธาตุ แก้โรคระดูพิการของสตรี
      -  ใช้บำบัดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ
      -  ใช้เป็นยาถ่าย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • แก้เจ็บคอ
      ใช้ราก หรือเหง้าสด 5-10 กรัม แห้ง 3-6 กรัม ต้มน้ำรับประทาน

    • เป็นยาระบาย และแก้ระดูพิการของสตรี
      ใช้ใบ 3 ใบ ปรุงในยาต้ม

    ความรู้เพิ่มเติม - เกี่ยวกับทางด้านความเชื่อ
              มีความเชื่อกันว่าเป็นว่านมหาคุณ ปลูกไว้หน้าบ้านกันภัยอันตรายต่างๆ เพราะสามารถนำว่านนี้มาใช้ประโยชน์ทางไสยคุณได้ เช่น

    • ดอก  - ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจากผม

    • ใบ - ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจาก เนื้อ

    • ต้น - ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจาก กระดูก
      ในภาคอีสาน นิยมปลูกเป็นว่านศิริมงคล แม่บ้านกำลังจะคลอดลูก ใช้ว่านหางช้างนี้พัดโบกที่ท้องเพื่อให้คลอดลูกง่ายขึ้น

    กลุ่มยาถ่าย

    ส้มเช้า

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Euphorbia neriifolia  L. (E. ligularia  Roxb.)

    ชื่อสามัญ  -

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น :  -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบ  ยาง  ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีหนามแข็งตามมุม เรียงเป็นแถวตามยาว มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ รูปถ้วย ออกตามกิ่งก้าน ใบประดับสีเหลือง ดูคล้ายกลีบดอก ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    •   -  โขลกตำพอก ปิดฝี แก้ปวด ถอนพิษดี

    • ยาง
      -  เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ แก้จุก แก้บวม
      -  ทำให้อาเจียน เบื่อปลาเป็นพิษ
      -  แก้ท้องมาน พุงโร ม้ามย้อย
      -  แก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง ขับน้ำย่อยอาหาร

    กลุ่มยาถ่าย

    สมอไทย

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Terminalia chebula  Retz. var. chebula

    ชื่อสามัญ  Myrabolan Wood

    วงศ์  COMBRETACEAE

    ชื่ออื่น :  มาแน่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผลอ่อน  ผลแก่  ผล  ใบไม้ต้น สูง 20-35 เมตร เปลือกต้นขรุขระ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรืเกือบตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด รูปวงรี มีสัน 5 สัน
    ส่วนที่ใช้

    สรรพคุณ :

    • ผลอ่อน  -  มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ ลดไข้ ขับลมในลำไส้

    • ผลแก่ -  มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน

    • ผล -  ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง มี Tannin มาก ใช้ทำหมึก

    • ใบ -  เป็นยาสมานแผล เป็นยาบำรุงถุงน้ำดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลอ่อน 5-6 ผล หรือ 30 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว จะถ่ายหลังให้ยาประมาณ 2 ชั่วโมง


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch