หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/6

    กลุ่มยาถ่าย

    กาฬพฤกษ์

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia grandis  L.f.

    ชื่อสามัญ   Pink Shower , Horse cassia

    วงศ์  LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอก เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนาแข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก  เปลือก เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • เนื้อในฝัก  -  ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
      ขนาดรับประทาน - รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงสู้คูนไม่ได้  

    • เปลือก และ เมล็ด  - รับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี

    กลุ่มยาถ่าย

    คูน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia fistula  L.

    ชื่อสามัญ   Golden shower, Indian laburnum, Pudding - pine tree

    วงศ์  LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE

    ชื่ออื่น :   กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) ปือยู ปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลมแล้ง (เหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยงๆ ชอบขึ้นตามป่าผลัดใบ หรือในที่ดินที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดี ใบ เป็นใบช่อสีเขียวเป็นมัน ช่อหนึ่งๆ ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีใบย่อยรูปป้อมๆ หรือรูปไข่ 3-6 คู่ ใบย่อยกว้างๆ 5-7 ซม. ยาว 9-15 ซม. โคนใบมนและค่อยๆ สอบไปทางปลายใบ เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบาง เส้นแขนงใบถี่ และโค้งไปตามรูปใบ ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 20-45 ซม. กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานยาวประมาณ 1 ซม. มี 5 กลีบ มักหลุดร่วงง่าย กลีบดอกยาวกว่ากลีบรองกลีบดอกประมาณ 2-3 เท่า และมีกลีบรูปไข่กลับ 5 กลีบ ตามพื้นกลีบจะเห็นเส้นกลีบชัดเจน เกสรผู้มีขนาดแตกต่างกันจำนวน 10 อัน ก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยงๆ อาจยาวถึง 50 ซม. โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0-2.5 ซม. ฝัก อ่อนสีเขียวและออกสีดำเมื่อแก่จัด ในฝักจะมีผนังเยื่อบางๆ กั้นเป็นช่องๆ ตามขวางของฝัก และตามช่องเหล่านี้จะมีเมล็ดแบนๆ สีน้ำตาลอยู่

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก ฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม กระพี้ เมล็ด
    สรรพคุณ
    :

    •   -   ขับพยาธิ

    • ดอก - แก้บาดแผลเรื้อรัง

    • เปลือก  -  บำรุงโลหิต

    • กระพี้แก้โรครำมะนาด

    • แก่นขับไส้เดือนในท้อง

    • รากแก้ไข้ แก้โรคคุดทะราด

    • เมล็ด - รักษาโรคบิด

    • ฝักแก่ - รสหวานเอียนเล็กน้อย เป็นยาระบายถ่ายสะดวกไม่มวนไม่ไซ้ท้อง มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone glycoside) เป็นตัวยาระบาย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยเอาเนื้อในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) น้ำ 1 ถ้วยแก้วต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว
              เหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์

    กลุ่มยาถ่าย

    จำปา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Michelia champaca  L.

    ชื่อสามัญ Champak

    วงศ์  MAGNOLIACEAE

    ชื่ออื่น :  จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี) Champak, Orange Chempaka, Sonchampa

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ สำหรับต้นที่ปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดอกไม้ประดับกันอยู่ทั่วไปนั้น เป็นการคัดเลือกตามธรรมชาติจากต้นที่มีขนาดเล็ก แต่มีดอกดก ดอกมีขนาดใหญ่และออกดอกได้ตลอดปี ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 10-22 ซม. ใบบาง เส้นแขนงใบ 12-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 ซม. โคนก้านใบป่อง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกสีเหลืองส้ม ออกตามซอกใบ กาบหุ้มดอกสีเขียวอ่อน มี 1 แผ่น ดอกบานตั้งขึ้นและส่งกลิ่นหอมแรง กลีบดอกมี 12-15 กลีบ กลีบนอกรูปใบหอก ค่อนข้างกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 4-4.5 ซม. กลีบในแคบและสั้นกว่า ผล กลุ่ม เป็นช่อยาว ประกอบด้วยผลย่อย 8-40 ผล อยู่รอบแกน ผลย่อยค่อนข้างกลมหรือกลมรี เปลือกหนาแข็ง มีช่องอากาศเป็นจุดเล็กสีขาวอยู่ทั่วไป ผลแก่แห้งแตกแนวเดียว ขนาดผลย่อยกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อนประจุดสีขาว เมล็ด มีเนื้อหุ้ม รูปเสี้ยววงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. เมล็ดอ่อนมีเนื้อหุ้มสีขาว เมล็ดแก่เนื้อหุ้มสีแดง ผลย่อยมี 1-6 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : อก เปลือกต้น เปลือกราก ใบ กระพี้ เนื้อไม้ เมล็ด ราก น้ำมันกลั่นจากดอก
    สรรพคุณ
    :

    • บ  -  แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก

    • ดอก - แก้วิงเวียนอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต

    • เปลือกต้น  - ฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้เสมหะในลำคอเกิด

    • เปลือกราก - เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ 

    • กระพี้ -  ถอนพิษผิดสำแดง

    • เนื้อไม้ - บำรุงโลหิต 

    • ราก -  ขับโลหิตสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก

    • น้ำมันกลั่นจากดอก - แก้ปวดศีรษะ แก้ตาบวม

    กลุ่มยาถ่าย

    ชุมเห็ดเทศ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Cassia alata ( L.) Roxb.

    ชื่อสามัญ  Ringworm Bush

    วงศ์   Leguminosae

    ชื่ออื่น :  ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซ.ม. ยาว 6-15 ซ.ม. หนูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งกลีบดอกสีเหลืองทองใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มี 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

    ส่วนที่ใช้ : ใบสดหรือแห้ง เมล็ดแห้ง ดอกสดของต้นขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
    สรรพคุณ
    :

    • บสด  -  รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีและแผลพุพอง

    • ดอก, ใบสดหรือแห้ง - เป็นยาระบาย ยาถ่าย ถ่ายพยาธิลำไส้

    • มล็ด  -  ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
              ใบและดอกชุมเห็ดใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้

    • เป็นยาระบาย ยาถ่าย แก้อาการท้องผูก
      ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 1-3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนที่ธาตุเบาธาตุหนัก ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริก หรือ ใช้ใบสด 8-12 ใบ ล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง หรือปิ้งไฟให้เหลือง หั่น ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด
      หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
      หรือ ใช้เมล็ด คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มเป็นน้ำชา เป็นยาระบายอ่อนๆ

    • เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
      ใช้ใบสด 3-4 ใบย่อย ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมเกลือเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมปริมาณเท่ากัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากนิดหน่อย ตำผสมกันทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนัง โดยเอาผิวไม้ไผ่ขูดบริเวณที่เป็นกลากเบาๆ แล้วทายาวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นจนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

    • รักษาฝีและแผลพุพอง
      ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยาแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

    สารเคมี : ใบ พบ anthraquinone เช่น aloe-emodin, chrysophanol, sennoside, flavonoids, terpenoids, iso-chrysophanol, physcion glycoside, kaempferol, chrysophanic acid, lectin, sitosterols, rhein

    กลุ่มยาถ่าย

    ตองแตก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Baliospermum montanum  Muell.A
    ชื่อพ้อง :  Baliospermum solanifolium  (Burm.) Suresh

    ชื่อสามัญ  

    วงศ์  EUPHORBIACEAE

    ชื่ออื่น :  ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์) ถ่อนดี ทนดี (ภาคกลาง, ตรัง) โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นองป้อง ลองปอม (เลย)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ราก ใบ เมล็ดไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ก้านใบเรียวยาว ยาว 2-6 ซม. ยอดอ่อนมีขน ใบ เดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน ใบที่อยู่ตามปลายยอดรูปใบหอกหรือรูปรี กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ใบที่ตามโคนต้นมักจักเป็นพู 3-5 พู รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือเกือบกลม กว้างประมาณ 7.5 ซม. ยาว 15-18 ซม. โคนสอบหรือมน มีต่อม 2 ต่อม ปลายแหลม ขอบหยักแบบฟันเลื่อยห่างๆ ไม่สม่ำเสมอ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และออกสองข้างของเส้นกลางใบ ข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน เนื้อบาง ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ช่อดอกเล็กเรียว ยาว 3.5-12 ซม. ดอกเพศผู้ มีจำนวนมาก อยู่ทางตอนบนของช่อ ดอกมีรูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มม. ก้านดอกย่อยเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ รูปกลม ไม่มีกลีบดอก ฐานดอกมีต่อม 4-6 ต่อม เกสรเพศผู้มี 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ดอกเพศเมียออกที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้นๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ม้วนออก ผล เป็น 3 พู กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 0.8 ซม. ปลายบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปขอบขนาน
              ตองแตก ขึ้นในป่าดิบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้างทั่วไป ถึงระดับความสูง 700 เมตร เขตกระจายพันธ์ ตั้งแต่อินเดีย (พบไม้ต้นแบบ) ปากีสถาน บังคลาเทศ ลงมาถึงพม่า อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • รากเป็นยาถ่าย ถ่ายไม่ร้ายแรงนัก ถ่ายลมเป็นพิษ ถ่ายพิษพรรดึก ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (และมีคุณคล้ายหัวดองดึง) ถ่ายแก้น้ำดีซ่าน

    • ใบ, เมล็ด -  เป็นยาถ่าย ยาถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม

    • เมล็ด -  เป็นยาถ่ายแรงมาก (ไม่นิยมใช้)

    วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :
              ใช้ใบ 2-4 ใบ หรือ ราก 1 หยิบมือ ยาไทยนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยรับประทาน

    กลุ่มยาถ่าย

    บานเย็นดอกขาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mirabilis jalapa  L.

    ชื่อสามัญ  Marvel of peru , Four-o’clocks

    วงศ์  Nyctaginaceae

    ชื่ออื่น :  จันยาม  จำยาม  ตามยาม  ตีต้าเช่า (จีน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ราก ใบ หัวไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเง้า สูง 1-1.5 ม. ลำต้นมีสีแดง มีนวลเล็กน้อย ใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม มีขนประปราย กว้าง 2-9 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนตัดหรือรูปหัวใจ ก้านใบยาว 1-4 ซม. กลีบประดับรูประฆัง ติดที่ฐาน ยาว 1-1.5 ซม. ดอกเกือบไร้ก้าน มี 4-5 ดอกในแต่ละช่อ บานตอนบ่ายๆ จนถึงตอนเช้า วงกลีบสีชมพู ม่วง ขาว เหลือง หรือด่าง ยาวประมาณ 3-6 ซม. ปากกลีบมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5-3 ซม. เกศรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรสีแดง อับเรณูทรงกลม รังไข่รูปรี ก้านเกศรเพศเมียยาวเท่าๆ เกสรเพศผู้ สีแดง ปลายเกสรเป็นตุ่ม เป็นพูตื้นๆ ผลรูปกลมรี สีดำ ขนาดประมาณ ยาว 0.5-0.9 ซม. เปลือกบาง มี 5 สัน เมล็ดกลม ขนาดประมาณ 0.7 ซม. บานเย็นมีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยเฉพาะดอกสีชมพู บางครั้งขึ้นเป็นวัชพืช
    ส่วนที่ใช้ :  

    สรรพคุณ :

    • ราก -  มี alkaloid trigonelline  ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย

    • ใบ -  ตำทาแก้คัน และ พอกฝี

    • หัว -  รับประทานจะทำให้หนังชาอยู่คงกะพันเฆี่ยนตีไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน
          -   รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch