หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/4

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    บัวหลวง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Nelumbo nucifera Gaertn.

    ชื่อสามัญ  Lotus

    วงศ์  Nelumbonaceae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก

    สรรพคุณ :

    • ดีบัว  -  มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย

    • ดอก, เกษรตัวผู้ - ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ

    • เหง้าและเมล็ด - รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง

    • เมล็ดอ่อนและแก่ - เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี

    • เหง้าบัวหลวง - ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน

    • ไส้ของของเมล็ด - แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ

    • ยางจากก้านใบและก้านดอก - แก้ท้องเดิน

    • ราก - แก้เสมหะ

    สารเคมี :

    • ดอก  มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine

    • embryo  มี lotusine

    • เมล็ด  มี alkaloids และ beta-sitosterol

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    บุนนาค

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mesua ferrea  L.

    ชื่อสามัญ   Iron wood, Indian rose chestnut

    วงศ์  GUTTIFERAE

    ชื่ออื่น :  ก๊าก่อ ก้ำก่อ นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบหนา รูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุม ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน ออกดอกระหว่างช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน ผล รูปไข่ ส่วนปลายโค้งแหลม โดยยังมีส่วนกลีบรองดอกขยายใหญ่ขึ้นติดอยู่ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ : ดอกสดและแห้ง ผล ใบ แก่น ราก เปลือก กระพี้

    สรรพคุณ :

    • ดอก - กลั่นให้น้ำมันหอมระเหย ใช้ในการอบเครื่องหอมได้ดี ใช้แต่งกลิ่นสบู่

    • ดอกแห้ง -  ใช้เข้ายาหอม แต่งกลิ่นแต่งรสทำให้รับประทานง่าย เป็นยาหอมบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ เป็นยาขับเสมหะบำรุงโลหิต แก้ร้อนกระสับกระส่าย แก้ลมกองละเอียด ซึ่งทำให้หน้ามืดวิงเวียนใจสั่น อ่อนเพลีย หัวใจหวิว ทำให้ชูกำลัง

    • ผล - ขับเหงื่อ ฝาดสมาน

    • ใบ - รักษาบาดแผลสด พอกบาดแผลสด แก้พิษงู

    • แก่น - แก้เลือดออกตามไรฟัน

    • ราก - ขับลมในลำไส้

    • เปลือก - ฟอกน้ำเหลือง กระจายหนอง

    • กระพี้ - แก้เสมหะในคอ

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    พยอม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Shorea roxburghii  G.Don

    ชื่อสามัญ  White Meranti

    วงศ์  DIPTEROCARPACEAE

    ชื่ออื่น :  กะยอม ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
    ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือกต้น

    สรรพคุณ :

    • ดอก  -  ผสมยาแก้ไข้ และยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ

    • เปลือกต้น - สมานลำไส้ แก้ท้องเดิน มี Tannin มาก

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    พิกุล

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mimusops elengi  L.

    ชื่อสามัญ   Bullet wood

    วงศ์   SAPOTACEAE

    ชื่ออื่น :   พิกุลเขา กุล แก้ว ซางดง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
    ส่วนที่ใช้ :  ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ

    สรรพคุณ :

    • ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย

    • ดอกแห้ง -  เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ

    • ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก

    • เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด

    • เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก

    • ใบ - ฆ่าพยาธิ

    • แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม

    • กระพี้ -  แก้เกลื้อน

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    มะลิลา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Jasminum Sambac (L.) Aiton

    ชื่อสามัญ Arabian jasmine

    วงศ์  OLEACEAE

    ชื่ออื่น :  มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่

    สรรพคุณ :

    • ใบ, ราก -  ทำยาหยอดตา

    • ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ

    • ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน

    • ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม

    วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม
    สารเคมี :

    • ดอก  พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester

    • ใบ  พบ  jasminin sambacin

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    สารภี

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mammea siamensis  Kosterm.
    ชื่อพ้อง
    :  Ochrocarpus siamensis T.Anders

    วงศ์  GUTTIFERAE

    ชื่ออื่น :   สร้อยภี (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง ขรุขระเล็กน้อย เปลือกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งแน่น ปลายกิ่งมักห้อยลงลำต้นและกิ่งมียางสีเหลืองหรือขาว ใบรูปไขปลายมนกว้าง บางทีปลายใบเว้าลงเล็กน้อย ใบแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกันที่บริเวณกิ่ง โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ เนื้อใบหนาเกลี้ยงสีเขียว ขนาดความกว้างของใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เส้นเล็ก ๆ เป็นวง มีสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลกลมเป็นรูปกระปุกเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในมีรสหวาน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
    ส่วนที่ใช้ :  ดอก ผลสุก

    สรรพคุณ :

    • ดอกสดและแห้ง -  ใช้เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

    • ดอกตูม - ย้อมผ้าไหม ให้สีแดง

    • ผลสุก -  รับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดโลหิต


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch