หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/3

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    กระดังงาไทย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata

    ชื่อสามัญ  Ylang-ylang Tree

    วงศ์  ANNONACEAE

    ชื่ออื่น :  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน

    สรรพคุณ :

    • ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ

    • ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ

    วิธีใช้ :

    1. ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย

    2. การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

    สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl  benzoate p-totyl  methylether, methylether, benzyl acetate

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    การะเกด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus tectorius  Blume

    ชื่อสามัญ  Screw Pine

    วงศ์  PANDANACEAE

    ชื่ออื่น :  การะเกดด่าง  ลำเจียกหนู  เตยดง เตยด่าง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง 0.7-2.5 ซม.ยาว 3-9 ซม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว 0.2-1 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 25-60 ซม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม เกสรเพศผู้ติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาว 0.8-2 ซม. ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. แต่ละผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก

    สรรพคุณ :

    • ดอก
      -  ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย
      -  แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ
      -  อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม

    วิธีใช้  -  นำดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว หรือมันหมู ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม นำดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    กุหลาบมอญ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Rosa damascena  Mill.

    ชื่อสามัญ  Rose, Damask rose

    วงศ์  Rosaceae

    ชื่ออื่น :  กุหลาบออน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อดอกสีชมพูหรือสีแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง อยู่รวมเป็นกระจุก 3-5 ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้นเมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-7 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมากดอกดกและบานได้หลายวัน ออกดอกตลอดปี
    ส่วนที่ใช้ ดอกแห้ง และสด

    สรรพคุณ :

    • ดอกแห้ง 
      -   เป็นยาระบายอ่อนๆ
      -  แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ

    • ดอกสด
      -  กลั่นให้น้ำมันกุหลาบ แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง

    วิธีใช้  - ใช้ดอกแห้งเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    เตยหอม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus amaryllifolius  Roxb.

    ชื่อสามัญ  Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

    วงศ์   Pandanaceae

    ชื่ออื่น :   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
    ส่วนที่ใช้ ต้นและราก, ใบสด

    สรรพคุณ :

    • ต้นและราก 
      -  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

    • บสด
      -  ตำพอกโรคผิวหนัง
      -  รักษาโรคหืด
      -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
      -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
      ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม

    2. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
      ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

    3. ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน

    4. ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

    สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin

    กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

    บัวบก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Centella asiatica  Urban

    ชื่อสามัญ  Asiatic Pennywort, Tiger Herbal

    วงศ์  Umbelliferae

    ชื่ออื่น :   ผักแว่น ผักหนอก

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
    ส่วนที่ใช้ :  ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด

    สรรพคุณ :

    •   -   มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน

    • ทั้งต้นสด
      -  เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
      -  รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
      -  ปวดศีรษะข้างเดียว
      -  ขับปัสสาวะ
      -  แก้เจ็บคอ
      -  เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
      -  ลดความดัน แก้ช้ำใน

    • เมล็ด
      -  แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1. ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
      ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

    2. ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
      ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

    3. เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
      ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

    4. ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
      ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

    5. เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
      ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

    6. เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
      ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

    สารเคมี :  สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch