หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/2

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.

    ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

    วงศ์ Malvaceae

    ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

    สรรพคุณ :

    • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

    1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

    2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

    3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

    4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

    5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

    6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

    7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

    8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

    • ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

    • ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

    • ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

    • เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

              นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
              นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
             
    โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
    สารเคมี
              ดอก 
    พบ
    Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
    คุณค่าด้านอาหาร
              น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
              น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร
    Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

    กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

    คำฝอย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Carthamus tinctorius  L.

    ชื่อสามัญ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle

    วงศ์ Compositae

    ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

    สรรพคุณ :

    • ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
      - รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
      - บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
      - โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
      - ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน

    • เกสร
      - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี

    • เมล็ด
      - เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
      - ขับโลหิตประจำเดือน
      - ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร

    • น้ำมันจากเมล็ด
      - ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ

    • ดอกแก่
      - ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
             
    ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
    สารเคมี
              ดอก 
    พบ
    Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
             เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
    คุณค่าด้านอาหาร
             ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
             ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
             ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร
    safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

    กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

    เสาวรส

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Passiflora laurifolia  L.

    ชื่อสามัญ Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla

    วงศ์ Passifloraceae

    ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง

    สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    กุ่มบก

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

    ชื่อสามัญ Sacred Barnar, Caper Tree

    วงศ์ Capparaceae

    ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ

    สรรพคุณ :

    • บ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก

    • เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ

    • กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา

    • แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง

    • ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม

    • เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    มิ้นชัน

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Curcuma longa  L.

    ชื่อสามัญ  Turmaric

    วงศ์  Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง

    สรรพคุณ :

    1. เป็นยาภายใน
      - แก้ท้องอืด
      - แก้ท้องร่วง
      - แก้โรคกระเพาะ

    2. เป็นยาภายนอก
      - ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
      - ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    1. เป็นยาภายใน
      เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

    2. เป็นยาภายนอก
      เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก

    สารเคมี
              ราก และ เหง้า มี
    tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    ทองพันชั่ง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz

    ชื่อสามัญ  White crane flower

    วงศ์   ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้

    ส่วนที่ใช้ :  ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้

    สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง
    วิธีและปริมาณที่ใช้
    :  

    1. ช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย  

    2. ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด

    3. ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ 

    4. ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    นางแย้ม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.

    ชื่อพ้อง :  Volkameria fragrans  Vent.

    ชื่อสามัญ  Glory Bower

    วงศ์  Labiatae

    ชื่ออื่น :  ปิ้งหอม

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี

    ส่วนที่ใช้ ต้น ใบ และราก

    สรรพคุณ :

    •   -   แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

    • ราก
      -  ขับระดู ขับปัสสาวะ
      -  แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
      -  แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
      -  แก้ไข้ แก้ฝีภายใน
      -  แก้ริดสีดวง ดากโผล่
      -  แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
      -  แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ

    ตำรับยา และวิธีใช้

    1. เหน็บชา ปวดขา
      ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

    2. ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
      ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    3. ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ
      ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    4. ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
      ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่

    5. โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม
      ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น

    สารเคมีที่พบ :  มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    ใบระบาด

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer

    ชื่อสามัญ  Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose

    วงศ์  Convolvulaceae

    ชื่ออื่น :  ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง

    ส่วนที่ใช้ ใบสด

    สรรพคุณ :  ยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
    วิธีและปริมาณที่ใช้
             
    ใช้ใบสด 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน 3-4 วันจะเห็นผล
    สารเคมี
    : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides

    หมายเหตุ : เป็นสมุนไพรที่ใช้เฉพาะภายนอก ห้ามรับประทาน เนื่องจาก ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch