หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/1

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    เปล้าน้อย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Croton stellatopilosus  Ohba

    ชื่อพ้อง : Croton sublyratus  Kurz

    วงศ์  EUPHORBIACEAE

    ชื่ออื่น :   เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

    สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    เหงือกปลาหมอ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acanthus ebracteatus  Vahl

    ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius  L.

    ชื่อสามัญ  Sea holly

    วงศ์  ACANTHACEAE

    ชื่ออื่น :  แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ

    ส่วนที่ใช้ ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด

    สรรพคุณ :

    • ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

    • ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

    • ราก 
      -  ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
      -  รักษามุตกิดระดูขาว

    • เมล็ด 
      - ปิดพอกฝี
      - ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    พิลังกาสา

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ardisia polycephala  Wall.

    วงศ์  MYRSINACEAE

    ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ

    ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :

    •   -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม

    • ดอก -  ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ

    • เมล็ด -  แก้ลมพิษ

    • ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู

    • ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน

    สารที่พบ α - amyrin, rapanone  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    มะยม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels

    ชื่อสามัญ  Star Gooseberry

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
    สรรพคุณ

    • บตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้

    • ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน

    • รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
    สารเคมี

    • ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C

    • ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    ว่านมหากาฬ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gynura pseudochina  (L.) DC.

    วงศ์ Asteraceae  (Compositae)

      ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
    ส่วนที่ใช้ หัว ใบสด
    สรรพคุณ :

    • หัว 
      -  รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
      -  แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม 

    • ใบสด
      -  ขับระดู
      -  ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน 

    วิธีและปริมาณที่ใช้
             
    ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
              ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
    ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว

    กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    อัคคีทวาร

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke

    วงศ์  VERBENACEAE

    ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
    ส่วนที่ใช้
    ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
    สรรพคุณ :
              ทั้งต้น 
    - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch