หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรแก้ไข้หวัดใหญ่ 2009

     

    ฟ้าทะลายโจร

    ไข้หวัดน้อย (Common cold/Upper respiratory tract infection/URI)
    ไข้หวัดใหญ่ (lnfluenza/Flu)
    ไข้กำเดาน้อย, ไข้กำเดาใหญ่ เช่น
    ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever)
    ไข้หวัดนก (lnfluenza A/H5N1 / Bird Flu / Avian lnfluenza)
    ไข้หวัดซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS)
    ไข้หวัดหมู (lnfluenza A/H1N1 / Swine Flu)
    ไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

    ปัจจุบันได้พบโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัดอยู่มากมายที่แปลกออกไปเรื่อยๆ ถ้าหากจะจำแนกตามแนวแผนปัจจุบันก็อาจกว้างไกลไปมาก ตามหลักการแพทย์แผนไทยจะพิจารณาถึงอาการโดยรวม เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีวิธีการดูแลรักษาและใช้ยาสมุนไพรร่วมกันได้หลายโรคหลายอาการ ซึ่งทำให้สะดวกในการดูแลรักษา ไม่จำเป็นต้องหายาที่จำเพาะโรคซึ่งอาจจะต้องคิดค้นออกมาใหม่อยู่เสมอแต่ก็อาจไม่ทันกับพัฒนาการของโรค
    จากประสบการณ์ในการรักษาโรคมากว่า ๒๕ ปี พอสรุปเทียบเคียงโรค อาการของโรค แล้วนำมาใช้เพื่อการรักษาได้ผลดี ตามหลักการแพทย์แผนไทยปรากฏตามพระคัมภีร์ตักกศิลาได้บอกอาการของโรคไว้ซึ่งสามารเทียบเคียงกับโรคที่พบในปัจจุบันพอสรุปได้ดังนี้

    ไข้หวัดน้อย, ไข้หวัดใหญ่
    ชื่อโรคในปัจจุบัน
    ไข้หวัดน้อย (Common cold/Upper respiratory tract infection/URI)
    ไข้หวัดใหญ่ (lnfluenza/Flu)

    อาการตามพระคัมภีร์ตักกศิลา
    ไข้หวัดน้อย ให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ระวิงระไวไอจาม น้ำมูกตก
    ไม่กินยาก็หาย อาบน้ำก็หาย ใน ๓ วัน ๕ วัน
    ไข้หวัดใหญ่ ให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ ไอจาม น้ำมูกตกเป็นกำลัง ตัวร้อน อาเจียน ปากแห้ง ปากเปรี้ยว ปากขม กินข้าวไม่ได้ แล้วแปรไปไอ ทำพิษให้คอแห้ง ปากแห้ง ฟันแห้ง จมูกแห้ง น้ำมูกแห้ง บางทีทำให้น้ำมูกไหลหยดย้อย เพราะว่ามันสมองเหลวหยอดออกจากนาสิกไปปะทะกับสอเสมหะจึงให้ไอ แก้มิฟังกลายเป็นริดสีดวงมองคร่อหืดไอ และฝีเจ็ดประการจะบังเกิด
    ไข้กำเดาน้อย, ไข้กำเดาใหญ่
    ชื่อโรคในปัจจุบัน มีโรคและอาการของโรคที่มีกลุ่มอาการร่วมไข้กำเดาน้อยหรือไข้กำเดาใหญ่ ที่พบในปัจจุบันอยู่หลายโรคหลายอาการ สรุปอาการร่วมที่สำคัญ คือ กลุ่มไข้กำเดาน้อย มีอาการไข้สูง ตัวร้อนจัด สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ ตาแดง ส่วนใหญ่มักจะมีอาเจียนร่วมด้วย มีอาการไอแต่มักไม่มีหวัด กลุ่มไข้กำเดาใหญ่ มีอาการไข้สูงลอย ตัวร้อนจัด สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ มีอาการไอแต่มักไม่มีหวัด ปวดเมื่อยคล้ายไข้หวัดใหญ่ อาจพบจุดเลือดออก หรือผื่นแดงเล็กๆแต่ไม่มีหัว มักจะมีอาเจียนร่วมด้วย จะเห็นได้ว่า อาการของโรคที่ระบาดร้ายแรงในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของไข้กำเดาใหญ่ เช่น
    ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever)
    ไข้หวัดนก (lnfluenza A/H5N1 / Bird Flu / Avian lnfluenza)
    ไข้หวัดซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS)
    ไข้หวัดหมู (lnfluenza A/H1N1 / Swine Flu)
    ไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)
    (เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ประมวลจากประสบการณ์การรักษาในคลินิกแพทย์แผนไทยและเครือข่ายที่อยู่ในวงแคบๆ ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ จนกว่าจะมีการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้องเหมาะสม ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับผลการนำเอาวิธีการรักษาไปใช้ให้เกิดผลในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป)

    อาการตามพระคัมภีร์ตักกศิลา
    ไข้กำเดาน้อย ให้ปวดศีรษะ ตาแดง ตัวร้อนเป็นเปลว ไอ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปากขมปากเปรี้ยว กินข้าวไม่ได้ ให้อาเจียน ให้นอนไม่หลับ
    ไข้กำเดาใหญ่ ให้ปวดศีรษะ ตาแดง ตัวร้อนเป็นเปลว ไอ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปากแห้ง คอแห้ง เพดานแห้ง ฟันแห้ง เชื่อมมัว เมื่อยไปทั้งตัว จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว ไม่เป็นเวลา บางทีผุดขึ้นเป็นเม็ดเท่ายุงกัดทั้งตัว แต่เม็ดนั้นยอดไม่มี บางทีให้ไอเป็นโลหิตออกมาทางจมูกทางปาก บางทีให้ชักมือกำเท้ากำ ถ้าแพทย์แก้มิฟังใน ๓ วัน ๕ วัน จะเกิดกาฬห้าจำพวกแทรก คือ กาฬฝีพิษ กาฬฝีฟก กาฬคูถ กาฬมูตร กาฬสิงคลี อันว่าความตายจะมีแก่บุคคลไข้นั้น ไข้กำเดาเป็นไข้สำคัญ อาการที่จะผุดนอกนั้นไม่มี มีแต่จะบังเกิดกาฬทีเดียว ถ้าไม่ตายใน ๗ วัน ๙ วัน ๑๑ วัน จะกลายเป็นสันนิบาติสำประชวนบุราณชวน

     

    อาการของโรคเพื่อการตรวจวินิจฉัยตามแนวปัจจุบัน

    ไข้หวัดน้อย (Common cold/Upper respiratory tract infection / URI)

    อาการ มีไข้ตัวร้อนเป็นช่วงๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย เป็นหวัดคัดจมูกน้ำมูกใสๆ ไอจาม คอแห้ง อาจเจ็บคอเล็กน้อยหรือมีเสมหะสีขาวเล็กน้อย อาจรู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด อาจมีไข้สูงและชัก ท้องเดินอาจมีมูก ถ้าเป็นอยู่เกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอมีเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว และอาจมีอาการอื่นๆแทรกซ้อนตามมา
    สิ่งตรวจพบ
    มี ไข้ไม่สูงมาก มีน้ำมูก เยื่อจมูกบวมและแดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอนซิลโต

    ไข้หวัดใหญ่ (lnfluenza/Flu)

    อาการ มีอาการไข้สูงหนาวๆร้อนๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกระเบนเหน็บและต้นแขนต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้งๆ จุกแน่นท้อง บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูกหรือเป็นหวัด มักเป็นไข้อยู่ 2-4 วัน แล้วค่อยๆลดลง บางคนเมื่อหายแล้วอาจมีอาการวิงเวียน
    สิ่งตรวจพบ
    ไข้ 38.5-40 ซ. หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลย

    การรักษาไข้หวัดน้อย, ไข้หวัดใหญ่, ไข้กำเดาน้อย, ไข้กำเดาใหญ่
    และโรคที่อยู่ในกลุ่มของไข้หวัดทุกชนิด ด้วยการแพทย์แผนไทย

    1. ถ้ามีไข้ตัวร้อน มีหวัด มีเสมหะ ไอเล็กน้อย หรือท้องเดินเล็กน้อย
    ให้ยา เบญจโลกวิเชียร ครั้งละ 1,500 มิลลิกรัม (ต่อน้ำหนักตัว 50-60 กก.) ถ้าไข้สูง ให้ยาทุก 4 ชั่วโมง ถ้าไข้สูงมาก ให้ยาทุก 2-3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำตามมากๆ เมื่อไข้ลดลง ให้ลดมื้อของการให้ยาลงเหลือ ทุก 4 ชั่วโมง และ วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน ตามลำดับ
    ถ้ามีอาการไข้ตัวร้อน และมีหวัดหรือไอรุนแรง
    ให้ยา เบญจโลกวิเชียร ครั้งละ 1,500 มิลลิกรัม ควบกับ ยาจันทลีลา 900 มิลลิกรัม (ต่อน้ำหนักตัว 50-60 กก.) ต่อมื้อ
    เมื่อไข้ลดลงแล้วให้ยาวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า- เย็น ต่อไปอีกประมาณ 3-5 วัน จึงงดยา แล้วให้ ยาแปรไข้ ครั้งละ 900 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ต่อไปอีกประมาณ 5-7 วัน หลังจากนั้นควรรับประทาน ยาครอบไข้ ครั้งละ 900 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ต่อไปอีกประมาณ 5-7 วัน เพื่อตัดรากขจัดโรคไข้ให้หมดสิ้น
    (ถ้าไม่มียาเบญจโลกวิเชียร ให้ใช้ยาจันทลีลา อย่างเดียว ครั้งละ 1,500 มิลลิกรัม)

    2. ถ้าเจ็บคอ มีเสมหะมาก ต่อมทอลซิลโต น้ำมูกข้นมีเสลดเป็นสีเลืองหรือเขียว หรือท้องเดิน กล่องเสียงอักเสบ หวัดลงหู หลอดลมอักเสบ ให้ยาตามข้อ 1 ควบกับยา ฟ้าทะลายโจร ดังนี้ เบญจโลกวิเชียร 1,500 มิลลิกรัม ยาจันทลีลา 900 มิลลิกรัม และฟ้าทะลายโจร 900 มิลลิกรัม หรือ เบญจโลกวิเชียร 1,500 มิลลิกรัม และฟ้าทะลายโจร 1,500 มิลลิกรัม ถ้าไข้สูง ให้ยาทุก 4 ชั่วโมง ถ้าไข้สูงมาก ให้ยาทุก 2-3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำตามมากๆ เมื่อไข้ลดลง ให้ลดมื้อของการให้ยาลงเหลือ ทุก 4 ชั่วโมง และ วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน ตามลำดับ

    3. ถ้ามีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่เวลาไอ หายใจขัด ให้เพิ่ม หนุมานประสานกาย ครั้งละ 900 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน ถ้ามีอาการมาก ให้เพิ่มเป็น ทุก 4 ชั่วโมง หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว 2-3 วัน ให้งดหนุมานประสานกาย ให้คงแต่ยาตัวอื่นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    4. ถ้ามีอาการท้องเดินมาก หรือมีมูกเลือด ให้เพิ่ม ยาวุฒิกำจาย หรือ ยาเหลืองปิดสมุทร ครั้งละ 900 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน ถ้าท้องเดินมาก ให้ทุก 2-3 ชั่วโมง หลังจากอาการดีขึ้นแล้วให้รับประทานยา ครั้งละ 900 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้า- เย็น ต่อไปอีก 2-3 วัน
    อาจใช้ยาแก้ท้องเสียตัวอื่นก็ได้ เช่น รากต้นก้างปลาแดง หรือ เปลือกรากมะเดื่อชุมพร หรือ เปลือกลูกทับทิม ครั้งละหนัก 100 กรัม เติมน้ำ 1 ลิตร ต้มเคี่ยวให้น้ำเหลือครึ่งหนึ่ง เอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน ถ้าท้องเดินมาก ให้ทุก 2-3 ชั่วโมง หลังจากอาการดีขึ้นแล้วให้รับประทานยา ครั้งละ 900 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้า- เย็น ต่อไปอีก 2-3 วัน ถ้ามีอาการท้องผูกให้หยุดยาแก้ท้องเสีย ยังคงยาแก้ไข้ไว้ต่อไป

    คำแนะนำ
    1. แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย
    1.1 พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนักหรือออกกำลังมากเกินไป
    1.2 สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าถูกฝนหรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น
    1.3 ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดไข้และทดแทนน้ำที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง
    1.4 ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มร้อนๆ
    1.5 ควรงดรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน รสเย็น อาหารมัน ส้มที่มีผิวมีต่อมน้ำมัน
    1.6 ระวังอย่าให้เกิดแผล ห้ามนวด อบ ประคบ
    1.7 ใช้ผ้าชุบน้ำ (ควรใช้น้ำอุ่นหรือน้ำก๊อกธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลามีไข้สูง
    2. ถ้ามีอาการหอบ หายใจขัดมาก ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือดไม่ว่าสีแดงสดหรือดำ ท้องอืดมาก ตับหย่อน ชัก ผิวซีดเหี่ยว กินอาหารไม่ได้ ตาลอยไม่ได้สติ คอแข็งก้มหรือเอียงไม่ได้ มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรือมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน หรือเมื่อให้ยาแล้วไข้ไม่ลด ควรนำส่งไปโรงพยาบาลโดยด่วน
    3. อาการไข้สูงปวดเมื่อยและไม่มีอาการอื่นๆชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆ ในระยะเริ่มแรกก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบจากไวรัส, ไข้เลือดออก, หัด, เป็นต้นจึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่นๆ ปรากฏให้เห็นควรให้การรักษาตามโรคนั้นๆ ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่มักจะมีไข้ ไม่เกิน 7 วัน
     

    ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก อาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช

    สมุนไพร 108: 

    • Update : 22/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch