หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติอักษรขอมไทยกับขอมกัมพูชา
    ประวัติอักษรขอมไทยกับขอมกัมพูชา

               หนังสือบางเล่มมักจะใช้คำว่า อักษรขอมแบบของไทย เพราะได้พบหลักฐานชื้นหนึ่งที่ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงไว้ ในหนังสือ "ตำนานอักษรไทยของท่าน" ซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ว่า อักษรขอมนั้น แท้จริงก็คืออักษรแขก หรืออักษรอินเดียใต้ เมื่อชาวอินเดียใต้เป็นผู้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่นั้นก็ได้นำหนังสือของตน หรือหนังสือ (อักษร) ปัลลวะของอินเดียใต้มาเผยแพร่ด้วย ดังนั้น หนังสือเหล่านี้จึงปรากฎว่ามีทั่วไปทั้งในกัมพูชาในชวา และสุมาตรารวมทั้งในสยามประเทศด้วย (รวม พ.ศ. 1100 - 1600) เมื่อ ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้รับวัฒนธรรมตลอดกระทั่งศาสนาของชาติอินเดียมาปรับปรุงใช้ในประเทศของตน ประเทศเหล่านี้ซึ่งยังไม่มีหนังสือของตนใช้มาก่อน จึงยินดีรับหนังสืออินเดียใต้มาใช้เป็นหนังสือของชาติตนด้วย แต่ครั้นกาลล่วงมานานความนิยมในการเขียนการใช้และความคล่องหรือคุ้นเคยในการเขียนอักษรอินเดียของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา และก็ได้เกิดเป็นประจักษ์พยานให้เห็นว่า อักษรขอมที่กัมพูชาใช้เขียนนั้น แตกต่างกับอักษรขอมที่สยามเขียนส่วนจะต่างกันอย่างไรนั้นผู้ศึกษาจงใช้ข้อสังเกตอ่านเอาจากข้อเขียนของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ในหนังสือตำนานอักษรไทยของท่านตอนหนึ่งว่า
            "ในสยามประเทศนี้พวกสัตบุรุษเคยได้ใช้ตัวอักษรขอมชนิดนี้ (หมายเหตุท่านคงหมายถึงชนิดที่ไทยใช้) ตั้งแต่ครั้งเมื่อสุโขทัยเป็นราชธานีมีตัวอย่างในศิราจารึก
    วัดป่ามะม่วงภาษามคธเป็นคาถาซึ่งมหาสามีสังฆราช (สังฆราชของประเทศลังกา ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ลัทธิลังกาวงศ์หรือลัทธิเถรวาท) ได้แต่งสรรเสริญพระเกียรติยศของพระยาลือไทย (พระธรรมราชาที่ 1) เวลาเสด็จออกทรงผนวช เมื่อ พ.ศ 1905 (ประชุมศิลาจารึกหลักที่ 4) ตัวอักษรในศิลาจารึกนั้น
    หาเป็นชนิดเดียวกันกับตัวอักษรขอมในศิลาจารึกภาษามคธของพระมหาสามีสังฆราชไม่ ตัวอักษรในศิลาจารึกภาษาเขมรเหมือนกับตัวอักษรจารึกกรุงกัมพูชา เมื่อราว
    พ.ศ. 1800 ยังไม่ได้เปลี่ยนรูปสัณฐาน เป็นอักษรขอมที่เขียนหนังสือธรรม เหตุที่ในแผ่นดินพระยาลือไทธรรมราชา มีอักษรขอมใช้ทั่วไปชนิดนี้ อาจเป็นเช่นนี้คือ
    ศิลาจารึกภาษาเขมรเขียนตามแบบเก่าของเขาแต่ศิลาจารึกภาษามคธนั้นเป็นฝีมือคนไทยเขียน หลักฐานชิ้นนี้ น่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติขอมโบราณคงศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่ง ชาติไทยโบราณก็ได้ศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่งเช่นกัน เรียกว่า ต่างคนต่างลอกมาใช้ในภาษาของตน ต่างคนต่างปรับปรุง และลอกคัดตามความเหมาะสมและรสนิยมของชาติตน ยิ่งเวลาล่วงเลยมานานเข้าก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าอักษรนั้น ดั้งเดิมจะมีที่มาจากแหล่งเดียวกันก็คือ อินเดียก็ตาม ฉะนั้น จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเอาอย่างจากขอมหรือขอมเอาอย่างจากไทย เพราะหลักฐาน ก็แจ้งจัดอยู่ในศิราจารึกแล้วว่าต่างกันอย่างไร หาใช่ต่างกันเพราะลายมือ ชาตินั้น ชาตินี้เขียนไม่ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่ชาติโรมันนำไปเผยแพร่ในทวีปยุโรปชาติต่าง ๆ มีเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้อักษรโรมัน เขียน ภาษาของตนทั้งสิ้นไม่เห็นมีใครเคยอ้างว่า อังกฤษเอาอย่างฝรั่งเศส หรือฝรั่งเศสเอาอย่างอักษรเยอรมัน


    • Update : 22/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch