หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรียนภาษาขอม ๓ เเม่กันนะ

    ได้เรียนรู้ตัวอักษรเเละสระต่างๆไปกันเเล้ว ทีนี้มาเรียนวิธีการผสมคำ การสะกด การใช้ตัวสะกด ตลอดจนวิธีอ่านคำที่มีสองพยางค์ ซึ่งภาษาขอมจะมีเทดนิคที่พิเศษที่เเตกต่างจากภาษาไทยของเรา

    วันนี้เรียนเเม่ กันนะ คือนำตัวอักษรตั้งเเต่ตัว กะ ไปจนถึงตัว ฬะ นำมาผสมกับสระเเละตัวสะกดเเละเชื่อมโยงถึงพยางค์ต่อไปที่ติดกัน ซึ่งเทคนิคนี้จะใช้กับคำที่เป็นพยางค์เดียวโดยในคำประกอบด้วยอักษรนำ สระ เเละตัวสะกด เเละกรณีสำหรับคำที่มีสองพยางค์ มาเรียนรู้กันว่ามีเทคนิคการอ่านอย่างไร

    เทคนิคการเขียน คือ สำหรับคำสองพยางค์ พยางค์เเรก มีอักษรนำ สระ ตัวสะกด โดยพยางค์ต่อมาจะเอาเเค่ตัวเชิงของอักษร มาวางให้ตัวสะกดของพยางค์เเรก เเละนำสระของพยางค์ใหม่ไว้ที่ตำเเหน่งของตัวสะกดของพยางค์เเรกเช่นกัน สระจะอยู่ตามตำเเหน่งปรกติตามหน้าที่ เเต่ถ้าเราอ่านก็จะทราบว่า สระเป็นส่วนประกอบหรือขึ้นอยู่กับพยางค์ไหนครับ

    ๑ เเละ ๒ การผสมคำเเละเขียน อย่างคำว่า กันนะ บางท่านจะไม่เขียนไม้หันอากาศที่บนตัวกะ บางท่านก็เขียน เพราะฉะนั้น การอ่านภาษาขอมบางครั้ง ต้องใช้การเดาคาดคะเนความเป็นไปได้ ประกอบไปด้วย ถ้าท่านช่ำชองทางด้านภาษาหรือคาถาอาคมต่างๆ ก็จะสามารถเข้าใจได้ง่ายเเละเร็วขึ้น

    ๓ การผสมคำ คำว่า กันนะ คำว่า กัน มาจาก ตัวกะ ไม้หันอากาศ ตามด้วยตัวสะกด ตัวนะ ส่วนคำว่า นะ พยางค์ต่อมาใช้ ตัวเชิงของตัวนะอีกตัว วางไว้ใต้ตัวนะตัวเเรกที่เป็นตัวสะกด อ่านรวมกันว่า กันนะ

    การเเบ่งพยางค์ ผมได้เเยกสีไว้ด้วยเพื่อสังเกตได้ง่าย เช่น คำสี่คำหลัง  กันนะ กันนิ กันนุ กันเน

    ๔  คำว่าสันติ สามารถเขียนได้หลายเเบบดังนี้
        สะ +ไม้หันอากาศ+ นะ เเละ ตะ +สระอิ    หรือ
        สะ +ไม้หันอากาศ+ ตัวเชิงของนะ(ล่าง สะ) เเละ ตะ +สระอิ  หรือ
        สะ + ตัวเชิงของนะ(ล่าง สะ) เเละ ตะ +สระอิ  หรือ
        สะ +ไม้หันอากาศ+ นะ เเละ เชิงของ ตะ(ล่าง นะ) +สระอิ

    ๕  ดูคำอธิบายจากภาพครับ เรื่องการยืมตัวอักษร เเละการเปลี่ยนรูปของตัวอักษร ครับ
    นอกจากนี้เกจิยุคเก่าๆยังมีวิธีเขียนคำที่เเปลกออกไปอีก เช่น เมื่อ ตัวเลข กับ จำนวนหน่วย จะถูกมารวมกันเเทนที่จะเขียนเเบบธรรมดา วิธีนี้ หลวงพ่อกวยท่านก็ใช้ เพราะเคยเห็นในบันทึกของท่าน

    ๖ คำว่า ๓ ที ถูกเขียน โดย ตัวเชิงของตัวทะ ถูกนำมาไว้ใต้้เลข ๓ เเละใส่สระอี เพิ่มไปข้างบน สะดวกดีครับ

    ๗  บน เขียนโดยวิธีเดียวกันเช่นคำว่า ๒ สี ๓ ปี ๔ ที เเละ ๙เดือน
        ล่าง เขียนเเบบธรรมดา ๒ สี   ๓ ที   ๔ เดือน  ๘ ปี  เเละ ๙ วัน

    • Update : 22/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch