หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติและตำนานของพระพรหม
    ประวัติและตำนานของพระพรหม
     
    จตุรพักตรพรหมา (ท้าวมหาพรหม) สุดยอดทางเมตตามหานิยม  แคล้วคลาด
     
             ในพระพุทธศาสนานั้นยอมรับว่าพระพรหมเป็นเทพที่ปกป้องพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระบรมศาสดาหลายหนด้วยกัน  เห็นง่าย ๆ ก็คือ  การอาราธนาให้แสดงธรรมเป็นเจ้าแรก  ดังปรากฏในบทอาราธนาเทศน์ว่า  “พรหมาจโลกาธิปติ  สหัมปติ”  อันเป็นการระลึกถึงการอาราธนาธรรมของพระสหัมบดีพรหมนั่นเอง  อีกทั้งหลักธรรมในพระพุทธศาสนาข้อหนึ่งก็เป็นพรหมวิหารคือ  ธรรมะที่พระพรหมถือปฏิบัติเป็นประจำและผู้ที่จะได้ไปเป็นพรหมก็ต้องปฏิบัติเช่นนั้นคือ  1. เมตตา   2. กรุณา   3. มุฑิตา   4. อุเบกขา
     
    1. เมตตา  คือ  มีความสงสารและเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่าและร้องขอความช่วยเหลือ
    2. กรุณา  คือ  ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่กรณีที่จะทำได้
    3. มุฑิตา  คือ  ให้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่หวังในสิ่งตอบแทนภายหลังและให้โดยทั่วกัน
    4. อุเบกขา  คือ  ความเที่ยงธรรมไม่ลำเอียงเห็นแก่หน้าหรือการให้ความเสมอภาคนั่นเอง
     
    พระพรหมจึงมีบทบาทในเครื่องรางของขลังของไทยตั้งแต่โบราณมาและสิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือ  ผ้ายันต์พระพรหม  อันมีลักษณะสองอย่างคือ
     
             ก. เขียนเป็นใบพระพักตร์ของพระพรหมสี่หน้าซึ่งอยู่ในมุมผ้ายันต์แล้วกำชับด้วยอักขระทั้งปวง
             ข. เป็นรูปพระมหาพรหมธาดา  ประทับนั่งบนแท่นและมองเห็นพระพักตร์สามด้านแล้วลงอักขระกำกับเอาไว้
     
             สำหรับผ้ายันต์รูปพระพรหมสี่พักตร์นั้น ท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์  ท่านได้สร้างเอาไว้หลายแบบด้วยกัน  แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้  แต่จะขอกล่าวถึงเหรียญพระพรหม  ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญที่ได้รับค่านิยมแพร่หลายเป็นอย่างยิ่งและมีเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจกันตรงนี้ก็คือ  มีหลายคนเข้าใจผิดว่าเหรียญพระมหาพรหมธาดาของท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์  ทุกรูปแบบนั้นจะเป็นแบบพรหมณ์ทั้งสิ้นหามิได้ครับท่านผู้อ่าน  และเพราะอะไรหรือครับก็เพราะท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์ท่านได้บอกเอาไว้เลย
     
             ท่านได้สร้างตามแบบตำรับไทยแบบพุทธเวทย์ทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่การปลุกเสกและลงอักขระ  แบบที่เรียกว่า  เป็นสุดยอดแก่งความเมตตาทั้งปวง  และท่าออกแบบมาในลักษณะเหรียญแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดหรือแบบกลม  แบบอาร์ม  และแบบรูปไข่นั้น  ล้วนแต่มองเห็นพระพักตร์ครบทั้งสี่ด้านทั้งสิ้น
     
             ส่วนการผูกพระคาถาและลงเหล็กจารนั้นเป็นแบบพุทธเวทย์ตามตำรับที่ถ่ายทอดมาจากวัดพระญาติการาม  เพราะท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์นั้น  เมื่อบวชอยู่ได้เล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อกลั่น  วัดพระญาติการาม  จนสำเร็จวิชาชาตรีและพระเวทย์ทางเมตตามหานิยมครบถ้วน
     
    ส่วนลักษณะของเหรียญท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์นั้นจะมีแต่ด้านหน้าด้านเดียวส่วนด้านหลังว่างเอาไว้ลงเหล็กจารเท่าที่เห็นก็มีดังนี้
              
              ก.ตาตารางตรีนิสิงเห
              ข.เม อะ มะ อุ นะ ทรงธรณี
              ค.ยันต์ห้า
              พุทธคุณและวิธีอาราธนา
     
            และเครื่องรางชุดพระมหาพรหมธาดาสี่พระพักตร์ของท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์นั้นไม่ว่าจะเป็นแบบไหน  ใช้ทางเมตตาและป้องกันตัวแบบครอบจักรวาล  การอาราธนาโดยใช้คาถาดังต่อไปนี้คือ  ปิโย  เทวะมะนุสสานัง  ปิโยพระหมานะมุตตะโม  ปิโยนาคะสุปัณนานัง  ปิยินทรียัง  มะนุสสานัง  เอหิจิตตังปิยังมามะ  (ท่องสามจบ)  แล้วอาราธนาว่า  ขอเดชะพระพุทธคุณนัง  พระธัมมะคุณนัง  พระสังฆะคุณนัง  มาติปิตาคุณนัง  คุรุอาจาริยาคุณนัง  จตุพักตรพรหมาวิหารัง  เอหิจิตตัง  ปิยังมะมะ  นะมะพะทะ  นะโมพุทธายะ  มะอะอุ  จากนั้น  อธิษฐานจิตได้เลยว่าจะให้เมตตาให้แคล้วคลาด  ให้เป็นมหาอุดหรือคงกระพันก็จงนึกเอาเวลาเกิดเรื่องตีกัน  ให้เอามือตบผ้ายันต์หรือเหรียญพระพรหมให้รู้ตัวมีสติอย่างเผอเรอและเจริญภาวนาว่าในใจว่า
     
                 “โอม  จตุพักตรพรหมา  นะมามิหัง”
    และจะรอดปลอดภัยทุกประการเลยทีเดียว  แต่จิตต้องมั่น   ใจมั่น  และเครื่องรางจะขลัง  และไม่ว่าใครก็ทำอะไรไม่ได้หรือท่านผู้อ่านจะใช้พระคาถาบทนี้ก็ได้
    พระคาถาบูชาพระพรหม
    โอม  ปะระเมสะนะมัสการัม
    องการะนิสสะวะ  รัง  พระหมเรสสะยัม  ภูปัสสวะ  วิษณุ  ไวยะทานะโมโทติลูกปัม  ทะระมา  ยิกยานังยะไวยะลา  คะมุลัม  สะทานันตะระ  วิมุสะตินัน  นะมัติเตนะมัตเต
    จะ  อะการัง  ตะโถวาจะ  เอตามาระยัต  ตะมันตะรามา  กัตถะนารัมลา  จะสะระจะปะติตัม  สัมโภพะกลโก  ทิวะทิยัม  มะตัมยะ

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch