หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ตำนานการสร้างเม็ดประคำ


    ตำนานการสร้างเม็ดประคำ

    ประคำ เมตตา แคล้วคลาด คุ้มครองป้องกันภัย

    “ลูกประคำ” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ว่า ลูกกลม ๆ ที่ร้อยด้วยเชือกเป็นสิ่งสำหรับชักเป็นคะแนนในเวลานั่งบริกรรมภาวนา แต่ทว่า “ลูกประคำ” ตามความหมายและความรู้สึกของนักนิยมสะสมพระเครื่อง -เครื่องรางของขลังนั้นจะมีความหมายที่นอกเหนือไปจากคำจำกัดความ ดังกล่าวแล้ว นั่นก็คือ “ลูกประคำ” ยังเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่งที่นิยมพกพา หรือคล้องคอ เพื่อขอพุทธานุภาพในการคุ้มครองป้องกันภัย

    สำหรับในด้านศาสนา ถือกันว่าเป็นเครื่องยังจิตใจ ให้เข้าสู่ภาวนาสมธิ เพื่อฝึกจิตตานุภาพให้แข็งแรง อดทนต่อการก่อกวนแห่งกิเลสทั้งปวง ที่มีให้พ้นไป ในทางพระเวทย์ ถือว่า “ลูกประคำ” เป็นเครื่องกำหนดคาบการภาวนาในการฝึกจิตหรือร่ายพระเวทย์วิทยาคมทั้งหลาย ให้เกิดพลังอำนาจขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และในด้านวิชายุทธโบราณของจีนหรือกำลังภายในนั่นเอง ซึ่ง “ลูกประคำเหล็ก” ของหลวงจีนวัดเส้าหลินเอามาเป็นเครื่องป้องกันตัวจากคมอาวุธได้ และยังใช้ในการสวดภาวนารวมไปกับบักเต้า (เครื่องเคาะจังหวะ) ได้อีกด้วย

     Reduced: 93% of original size [ 550 x 388 ] - Click to view full image

    ผู้อ่านคงจะเห็นด้วยกับผู้เขียนว่า พระกิ่งธิเบต และพระกิ่งนอก มักจะสร้างพระไภสัชยะ คุรุมีประคำรอบพระศอไว้ด้วย ส่วนพระกิ่งของไทยเราได้ดัดแปลงเม็ดประคำให้เป็นริ้วจีวรเป็นเส้นลวดเกลี้ยงแทนเพราะ
    ประคำเป็นคตินิยม มหายาน และพราหมณ์ จะสังเกตเห็นพระบรมศาสดานั้น ไม่ทรงชักและใช้ประคำ เหตุเพราะพระองค์ทรงสำเร็จและหยั่งรู้เหนือกว่าการภาวนาชักประคำมากมายนัก

    “ลูกประคำ” นั้นแพร่หลายมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาในตำรับวัดป่าแก้ว ของสมเด็จพระนพรัตน์นั้นระบุว่า “ได้มีการสร้างประคำดาบปราบหงสาวดี ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อทรงออกศึกกู้ชาติในยามที่ทรงสิ้นพระชนม์ชีพ
    ณ เมืองหาง ก็ทรงมีประคำคล้องติดพระศอ อยู่อย่างแนบแน่น เพราะทรงนับถือสมเด็จพระนพรัตน์เป็นอาจารย์องค์สำคัญ”

     Reduced: 93% of original size [ 550 x 413 ] - Click to view full image

    “ลูกประคำ” มีมาตรฐานกำหนดเม็ดประคำ นับจากลูกปลายล่างสุดจนจรดปมที่ผูกมัดร้อยด้วยประคำรวมกันได้ 108 เม็ด จำนวน 108 เม็ดนี้ถือว่าเป็นเลขมงคลทั้งพุทธ และพราหมณ์ไปจนถึงอาถรรพณ์เวทย์ พระอรหันต์ 108 รูป สวดสาธยายพระคาถา 108 จบ ว่า 108 ชนิด ถ้าพูดถึงอะไรก็ตามที่ลงด้วย 108 แล้วจะขลังดีขึ้นอีกเป็นทวีคูณ

    “ลูกประคำ” นั้นตามตำรับโบราณจะต้องใช้ว่านมงคล 108 มาบดผสมกับเครื่องยาจินดามณีเสียครั้งหนึ่งก่อน จึงจะโยงยึดด้วยรักหรือปูนนั้น และจึงเจาะรูตรงกลาง ด้วยการเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองมาลงอักขระม้วนเป็นตะกรุด เสียบเข้าไปเป็นแกนกลางสำหรับร้อยเชือกส่วนเชือกนั้นต้องใช้ไหมเจ็ดสีมาควั่นเป็นเชื
    อกร้อยตรงปลายสุด ปั่นให้ฟูและถักเป็นพู่ให้สวยงามแต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผงใบลาน เผาคลุกรัก และวัสดุอื่นจนในปัจจุบันนี้กลายเป็นประคำชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้จันทน์ ทั้งพลาสติก และลูกประคำสำเร็จรูป

     Reduced: 93% of original size [ 550 x 733 ] - Click to view full image

    ยังมีประคำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กเรียกกันว่า “ประคองแขน” คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง พอที่จะสวมข้อมือ แล้วรูดขึ้นไปไว้บนต้นแขนคล้ายกับเชือกคาด และประคำมือ คือมีขนาดเล็กสวมที่มือไม่ได้ แต่เอาสวมไว้กับตัวนิ้วโป้ง ใช้สำหรับนักดาบ ท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยไปนมัสการ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จะสังเกตเห็นว่าท่านมีอยู่พวงหนึ่ง และติดมือของท่านอยู่เสมอใช้นั่งทำภาวนาของท่านและยังมีของ สำนักวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุข นั่นเองที่ขึ้นชื่อลือชามากเพราะมีข้าราชการขอให้ท่านสร้างให้อย่างมากมายถือได้ว่าเ
    ป็นเครื่องรางที่สร้างยากและมีอานุภาพมาก

    ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัสดุที่ใช้ทำ ดังนี้

    1. กะลามะพร้าวตาเดียว กลึงเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง
    2. งาช้าง (งากำจัด) กลึงเป็นรูปกลม เจาะรูตรงกลาง
    3. เขี้ยวหมู เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมูตัน และเขี้ยวจระเข้ นำมากลึกเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง

     Reduced: 93% of original size [ 550 x 734 ] - Click to view full image

    เมื่อนำสรรพสิ่งที่ว่ามารวมกันแล้วท่านว่ามีศิริอานุภาพของประคำใช้ป้องกัน เขี้ยวงาศาตราวุธ และป้องกันการกระทำคุณไสยใช้ภาวนาเป็นคาถาแคล้วคลาด และนำติดตัวเป็นเสน่ห์ ส่วนการร้อยเรียงจะมีกะลาเป็นส่วนใหญ่ คั่นด้วยงาเขี้ยวจนครบ 108 เม็ด จะคั่นเหมือนกันทุกพวง และได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องของขลังเป็นอย่างยิ่งจนทุกวันนี้ ส่วนราคาเป็นหลักหมื่นขึ้นไป ของเทียมก็มีแต่งา และความแห้งของกะลาไม่มี ต้องพิจารณาหน่อย และที่ปลายพวงส่วนใหญ่จะเป็นงากลึง

    คาถาอาราธนาไม่มีเฉพาะเจาะจง แต่อาจจะใช้แบบรวม คือ ตั้งนะโม 3 จบ และระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ก่อนจะนำติดตัวให้ว่า สาธุพุทธยัง อาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง อุกาสะ อาราธนานัง อิมังกายะพันธะนัง อธิษฐาน มิ”

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch