หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการป้องกันประเทศ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการป้องกันประเทศ

     

            "ผู้ใดมีอำนาจวาศนา ธรรมดาหาอะไรก็หาได้
    กำหมัดคือยุติธรรมจงจำไว้ ใครหมัดใหญ่ได้เปรียบเรียบเทียบเกลอ
    ใครหมัดย่อมต้องถ่อมกายายอบ  ต้องคอยหมอบคอยกราบราบเทียวหนอ
    คอยระแวงแขยงอยู่ละเออ มิได้กล้าเผยอขึ้นตึงตัง
    มีอำนาจวาศนาวาจาสิทธิ์ พูดสิ่งใดไม่ผิดเพราะฤทธิ์ขลัง
    ถึงพูดผิดกำหมัดซัดลงปัง กลายเป็นพูดถูกจังไปทั้งเพ
    กำหมัดเล็กลูกเด็กก็เถียงได้ จะส่งเสียงเถียงไปไม่ไหวเหว
    ต้องขอยืมหมัดโตไว้โบ๊เบ๊ เดินโอ้เอ้วางปึ่งให้ถึงดี" (๑)
       

                ภายหลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชดำริที่จะเร่งรัดปฏิรูปกองทัพสยาม ให้ทันสมัยทัดเทียมชาติมหาอำนาจ เริ่มจากทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาการทหารในประเทศยุโรป พร้อมกับได้ทรงดำเนินพระบรมราชวิเทโศบายทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย การผูกมิตรกับประเทศรัสเซีย เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งกำลังแผ่อิทธิพลเข้ามาทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกของประเทศไทย
                สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ทรงเป็นพระราชโอรส พระองค์หนึ่งที่โปรดให้เสด็จออกไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ โดยได้เสด็จออกจากประเทศไทยไปหลังจากเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ได้เพียงเดือนเศษ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๓ พรรษา
                ในระหว่างประทับทรงศึกษาวิชาการชั้นต้น ณ ประเทศอังกฤษนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทิวงคตลงอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
                เนื่องจากทรงได้รับสถาปนาเป็นพระรัชทายาท จึงเป็นเหตุให้ต้องทรงเปลี่ยนแนวการศึกษา ซึ่งแต่เดิมมีพระราชประสงค์ จะให้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ ต้องทรงเปลี่ยนไปทรงศึกษาวิชาการเพื่อเตรียมพระองค์ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป ในชั้นต้นได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาการทหารบก ณ ROYAL MILITARY ACADEMY, SANDHURST เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ วิชาที่ได้ทรงศึกษามี การปกครองของทหาร กฎหมาย ยุทธวิธี วิชาป้อมค่าย การสำรวจ ภาษาฝรั่งเศส พลศึกษา ห้อยโหน (หรือยิมนาสติค) ขี่ม้า ฯลฯ ทรงเชี่ยวชาญในการขี่ม้าเป็นพิเศษ
                เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารแล้วได้เสด็จเข้าประจำการในกองทัพบกอังกฤษ ทรงดำรงพระยศเป็นนายร้อยโท สังกัดกรมทหารราบเบาเดอรัม (Durham Light Infantry Regiment) ก่อนที่จะเสด็จไปเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรวิชาเฉพาะต่าง ๆ ของกองทัพอังกฤษอีก ๓ ครั้ง ดังนี้
                    ๑)  วิชาปืนเล็ก ที่เมืองไฮท์ ทรงได้รับรางวัลวิชาแม่นปืน ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถมาก รางวัลนี้มีผู้ที่ได้รับน้อยราย
                    ๒)  วิชาทหารภูเขา ที่เมืองโอคแฮมตัน จังหวัดเดวอน
                    ๓)  วิชาการทหารปืนใหญ่ ที่ออลเดอร์ช็อต ในระหว่างที่เสด็จเข้าทรงศึกษาในมหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ดแล้ว
                ครั้นถึงเวลาอันสมควรได้เสด็จเข้ารับการศึกษาวิชาการพลเรือน ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ในหลักสูตรพิเศษที่ทางมหาวิทยาลัยจัดถวายพระราชวงศ์อังกฤษ วิชาที่ทรงศึกษามี อาทิ ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และการปกครอง ฯลฯ
                อนึ่ง ในระหว่างที่ประทับทรงศึกษาสรรพวิทยาการ ณ ประเทศอังกฤษนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เป็นผู้แทนพระองค์เสด็จไปร่วมในงานบรมราชาภิเษกพระเจ้า อัลฟองโซที่ ๑๓ แห่งประเทศเสปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ ๗ แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนั้นยังได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป อาทิ รุสเซีย ออสเตรีย - ฮังการี อียิปต์ อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน ปอร์ตุเกส และเยอรมนี เพื่อทอดพระเนตรความเจริญและกระชับสัมพันธไมตรีเป็นการส่วนพระองค์ด้วย
                ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเบลเยี่ยม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้ทอดพระเนตรป้อมต่าง ๆ ของประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นป้อมที่ทันสมัยที่สุดนั้น ได้ทรงแสดงพระปรีชาญาณทางการทหารให้ประจักษ์ตั้งแต่ยังทรงมีพระชนมายุเพียง ๒๑ พรรษา ดังที่ นายพลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตหัวหน้ากองทูตทหารในการพระราชสงครามทวีปยุโรปและอาจารย์วิชายุทธศาสตร์และยุทธวิธี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ได้บันทึกไว้ว่า
                        ".....เมื่อทรงกล่าวถึงป้อมที่เมืองลิเอซ ถึงสะพานและช่องทางที่ข้าศึกอาจยกเข้ามา ได้ทรงทำนายไว้ว่าเยอรมันจะต้องยกเข้ามาทางนั้น ได้รับสั่งเรื่องนี้กับข้าพเจ้าใน ค.ศ. ๑๙๐๑ และใน ค.ศ. ๑๙๑๔ คือ ๑๓ ปีภายหลัง กองทัพเยอรมันก็ได้โจมตีลิเอซตามทางที่ได้ทรงทำนายไว้จริง ๆ  เป็นพยานว่า…ทรงเห็นการณ์ไกลทางยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ยังทรงพระยศทหารเป็นนายร้อยตรีผู้สำเร็จการศึกษามาใหม่ ๆ .....ทรงสามารถเข้าพระทัยหลักสำคัญแห่งตำรับพิชัยสงคราม สมที่จะได้ทรง เป็นมิ่งขวัญและจอมทัพสยามต่อไป....." (๒)
                สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร โดยเสด็จพระราชดำเนินผ่านทางสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ได้แวะทอดพระเนตรความเจริญของบ้านเมือง ตลอดจนการจัดการทหาร และการศึกษาในประเทศทั้งสอง ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินถึงกรุงเทพมหานครในปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๕ รวมเวลาที่ประทับทรงศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรเป็นเวลาถึง ๙ ปี
                เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานครแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จเข้ารับราชการทหารเป็น นายพลเอก และนายพลเรือเอก ตำแหน่งจเรทัพบกและทัพเรือ และทรงเป็นราชองครักษ์พิเศษ กับทรงดำรงพระยศเป็น นายพันโท ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และนายพันเอก ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
                นอกจากพระราชกิจในหน้าที่นายทหารประจำการดังกล่าวแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังได้ทรงช่วยเหลือกิจการของสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเป็นที่ปรึกษาสภาร่างกฎหมาย ได้ทรงยกร่างพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งเป็นรากฐานในการเกณฑ์บุคคลเข้ารับราชการทหาร สืบมาตราบจนถึงทุกวันนี้ รวมทั้งได้ทรงร่วมกับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ (๓) จัดวางกำลังกองทัพบกตามรูปแบบการจัดกองกำลังของนานาประเทศ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าโครงสร้างกองทัพบกสยาม พ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งได้จัดวางกำลังพลเป็น ๑๐ กองพลกระจายอยู่ในมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดังนี้

                                       กองพลที่ ๑ มณฑลกรุงเทพ 
                                       กองพลที่ ๒ มณฑลนครไชยศรี
                                       กองพลที่ ๓ มณฑลกรุงเก่า (อยุธยา)
                                       กองพลที่ ๔  มณฑลราชบุรี
                                       กองพลที่ ๕ มณฑลนครราชสีมา
                                        กองพลที่ ๖ มณฑลนครสวรรค์
                                       กองพลที่ ๗ มณฑลพิษณุโลก
                                       กองพลที่ ๘ มณฑลพายัพและมณฑลมหาราษฎร์
                                       กองพลที่ ๙ มณฑลปราจิณบุรี และมณฑลจันทบุรี
                                       กองพลที่ ๑๐ มณฑลอุบล มณฑลอุดรและมณฑลร้อยเอ็จ
                ในแต่ละกองพลมีการจัดโครงสร้างอัตรากำลังเป็นหน่วยทหารเหล่าต่าง ๆ ดังนี้
                                       กรมทหารราบ  ๒ กรม                                                                                
                                       กรมทหารปืนใหญ่  ๑ กรม                                                                               
                                       กรมทหารม้า หรือทหารพราน (๔) ๑ กรม                                                                               
                                       กรมทหารช่าง ๑ กรม                                                                               
                                       กรมทหารสื่อสาร ๑ กรม                                                                               
                แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณของแผ่นดินซึ่งถูกจำกัดด้วยสนธิสัญญาว่าด้วยภาษีร้อยชักสาม ทำให้ไม่มีงบประมาณพอที่จะจัดซื้ออาวุธ รวมทั้งบรรจุกำลังพลประจำการลงได้เต็มตามอัตราที่กำหนดไว้ แม้เวลาจะล่วงเลยเข้าสู่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วก็ตาม กองพลทั้งสิบนั้น ก็คงมีแต่โครงที่ไม่สามารถบรรจุกำลังรบลงได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ ประกอบกับเงื่อนไขของสนธิสัญญา ที่ชาติมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมได้กำหนดให้กองทหารไทยต้องตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไม่น้อยกว่า ๒๕ กิโลเมตร และข้อกำหนดตามสนธิสัญญาลับที่ประเทศไทยทำไว้กับรัฐบาลอังกฤษคราวกู้ยืมเงินจำนวน ๑๕ ล้านปอนด์สเตอริงค์ มาสร้างทางรถไฟสายใต้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้กำหนดให้ดินแดนในคาบสมุทรมลายูของไทย อันประกอบด้วยมณฑลชุมพร มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลภูเก็ตและมณฑลปัตตานี เป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว ซึ่งผลของสัญญาลับฉบับนี้ ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งกองทหารประจำการ ในดินแดนภาคใต้ของไทย นับแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนจรดชายแดนมลายูของอังกฤษ และสนธิสัญญาฉบับนี้ คงมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องมาตราบจนถึงสมัยสงครามโลกครั้ง ที่ ๒
                แต่ด้วยพระบรมราชปณิธานที่จะทรงนำประเทศไทยสู่การยอมรับจากนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงเตรียมการด้านกำลังสำรองของชาติไว้ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เริ่มด้วยทรงนำหลักวิชาป้อมค่ายประชิด และทหารพราน ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถเป็นพิเศษ มาฝึกหัดมหาดเล็กข้าในกรมให้นิยม และมีความรอบรู้ในวิชาการทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองของชาติเตรียมพร้อมไว้ในกรณีจำเป็น ดังพระราชนิพนธ์ที่ว่า.6+
     
    "แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ
    สัตรูกล้ามาประจัญ  จักอาจสู้ริปูสลาย"

                ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็เริ่มทรงวางรากฐานการป้องกันประเทศ เริ่มจากโปรดให้ยกกรมวังนอก ซึ่งเป็นส่วนราชการพลเรือนในราชสำนัก ขึ้นเป็นกรมทหารรักษาวัง เมื่อวันอังคารที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
                กรมทหารรักษาวังนี้ มีฐานะเป็นหน่วยทหารประจำการกรมหนึ่ง มีหน้าที่หลัก คือ การรักษาการในเขตพระราชฐานแทนทหารประจำการและปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์อีกหน่วยหนึ่ง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงวัง รวมทั้งการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็โปรดให้ใช้งบประมาณของกระทรวงวังซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น
                เมื่อแรกตั้งกรมทหารรักษาวังนั้น โปรดให้จัดอัตรากำลังเป็น ๒ กองพันดังเช่นการจัดอัตรากำลังของหน่วยทหารบกในยุคนั้น ครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า จะมีชาติมหาอำนาจชาติหนึ่ง เตรียมการที่จะเสนอขอขุดคอคอดกระ เพื่อร่นระยะเวลาเดินทางจากคาบสมุทรอินเดียสู่ทะเลจีน รวมทั้งจะมีการขอสัมปทานทำเหมืองแร่ในเขตมณฑลปักษ์ใต้ของไทย แล้วจะอาศัยเหตุนี้ส่งกำลังทหารเข้ามาโดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนที่มาทำเหมืองแร่นั้นแล้ว ยิ่งทรงพระปริวิตกและทรงห่วงใยในเรื่องกรรมสิทธิ์ของประเทศสยามในดินแดนแถบนี้มากยิ่งขึ้น ถึงขนาดได้เสด็จ ฯ ประพาสมณฑลปักษ์ใต้ ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ และได้ทรงมีพระราชปรารภในที่ประชุมสภาการทัพว่า
              "...เมื่อทำสัญญากับอังกฤษครั้งหลัง ในเรื่องรถไฟซึ่งกระทำให้หลักอำนาจกรรมสิทธิ์ของประเทศสยามในแหลมมลายูยังคงอ่อนอยู่ ซึ่งจะแก้ได้ก็เพราะการที่มีกองทหารประจำอยู่เท่านั้น ประเพณีของนา ๆ ประเทศถือว่าในดินแดนที่ประเทศมีกองทหารตั้งอยู่แล้วนั้น เปนกรรมสิทธิ์อย่างมั่นคง และทางแหลมมลายูนี้เปนดินแดนที่ล่อแหลม ถึงฝ่ายเราจะไม่วิตกในการที่จะใช้คืนเงิน และดอกเบี้ยแก่เขาไม่ให้ติดค้างได้ ซึ่งเปนเรื่องสำคัญเกี่ยวถึงดินแดนเหล่านี้ก็ดี แต่ถ้าไม่มีกองทหารตั้งประจำแล้ว อาจจะเปนทางที่เขาจะกล่าวในอย่างอื่นด้วย ซึ่งเราก็ยังทรงไม่ได้ว่ามีทางใดอีกสักกี่อย่าง ส่วนที่มีตำรวจภูธรนั้นหาได้คือกันอย่างที่มีกองทหารไม่ กับเมื่อได้ตั้งกองทหารขึ้นแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่า จะได้ผลตลอดถึงเหตุการณ์ที่ภูเก็ตอีกด้วย เพราะที่ภูเก็ตมีพวกต่างประเทศมาอยู่มาก กับมีพวกจีนเปนพื้น ถ้ามีเหตุการณ์ขึ้นซึ่งระงับไม่ทันท่วงที ก็จะเกิดเรื่องพัวพันกับอังกฤษเปนมูลเหตุแลจีนสมัยใหม่นี้ถึงจะอยู่ในใต้กฎหมายไทยอย่างเดิมก็ดี แต่จีนสมัยใหม่มีวิธีแปลกเปลี่ยนกับจีนสมัยเก่าอยู่มาก แม้มีเรือรบตรวจระวังอยู่แล้วก็ดี แต่ถ้าเหตุการณ์นั้นจะต้องส่งทหารเรือขึ้นระงับบนบกก็จะไม่มีกำลังพอ เพราะมีจำนวนคนน้อย แม้มีกองทหารประจำอยู่ในเมืองที่ใกล้แล้ว ก็อาจจะส่งกันได้ทันท่วงที....." (๕)
                จากพระราชปรารภดังกล่าวจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวังขึ้นอีก ๑ กองพัน มีที่ตั้งกองบังคับการกองพันอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กับมีส่วนแยกไปตั้งที่จังหวัดระนองและพัทลุง และได้มีพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในลายพระราชหัตถเลขาทรงตอบจดหมายเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ที่ ๓๓/๑๑๐๒๔ "เรื่องตั้งทหารในมณฑลนครศรีธรรมราช" ว่า
              ".....ขอตอบปัญหาที่ตั้งมานั้น หยิบเอาข้อที่เนื่องด้วยการต่างประเทศก่อน คือ ถ้าประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ในมณฑลปักษ์ใต้ จะกระทำให้ฝ่ายอังกฤษรู้สึกหวาดเสียวหรือเห็นผิดไปอย่างไรบ้างหรือไม่ฉนี้ ได้ปฤกษาหาฤากับกรมพระเทววงศ์แล้ว มีความเห็นพร้อมกันว่า เห็นจะพอจัดการป้องกันความเข้าใจผิดได้โดยอุบายดังต่อไปนี้ เราได้ประกาศแล้วว่า จะไปตั้งวังอยู่ในมณฑลปักษ์ใต้แห่ง ๑ และอาไศรยเหตุที่จำเปนต้องมีคนถืออาวุธรักษาพระองค์ในเวลาไปประทับที่นั้น ควรจัดตั้งทหารรักษาวังขึ้นกอง ๑ ดังนี้จะมีใครทักท้วงว่ากระไรก็เห็นว่าจะแก้ได้ถนัด
                การที่จะไปจัดตั้งทหารขึ้นที่ในมณฑลนครศรีธรรมราช เมื่ออย่างไร ๆ ก็เปนอันจะต้องเพิ่มเงินขึ้นใหม่อีกแล้ว ก็ตั้งทหารรักษาวังขึ้นจะเปนการสดวก เพราะจะได้ไม่เสียราชการของกองทัพบก ณ บัดนี้ และจะกล่าวแก้คำท้วงก็ได้โดยสดวกดังอธิบายมาแล้ว
                เห็นควรให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหารทั้ง ๔ มณฑลทีเดียว..... การที่ต้องประกาศใช้ เพราะต้องการเกณฑ์ทหารรักษาวังนั้นเอง ซึ่งถ้าจะใช้วิธีเกณฑ์อย่างอื่นก็จะผิดหลักกฎหมายที่มีอยู่แล้ว อีกทั้งจะได้ใช้เกณฑ์คนเปนตำรวจภูธรด้วยทีเดียว
                .....ตำรวจภูธรที่จะเกณฑ์นั้น ก็สำหรับใช้รักษาความสงบภายในและรักษาชายแดนด้วย และทหารรักษาวังนั้น ถึงแม้ว่าน่าที่โดยปรกติจะสำหรับรักษาพระองค์ในเวลาเสด็จลงไปปักษ์ใต้ก็จริงอยู่ แต่ถ้าแม้ว่ามีเหตุการณ์ฉุกละหุก ก็จะพอใช้ป้องกันการจราจลภายในได้เหมือนกัน ถ้าได้ตั้งทหารรักษาวังขึ้นไว้สักกอง ๑ พอให้ชิน ๆ แล้ว แม้ต่อไปกระลาโหมจะเห็นสมควรจัดตั้งกองพลขึ้นก็คงตั้งได้โดยไม่มีเสียงพูดจาทางเข้าใจผิดไปได้เลย ส่วนปัญหาที่มีว่า จะควรตั้งกองทหารหรือไม่นั้น กรมพระเทววงศ์ทรงเห็นด้วยกับเราว่า ควรมี เพราะจะได้เปนพยานให้เห็นชัดว่า ที่ดินแดนในคาบสมุทรมลายูนั้น เรามิได้เพิกเฉยทอดทิ้ง ยังมีความหวงแหนอยู่จึ่งได้พยายามจัดตั้งกำลังไว้รักษาความสงบภายใน....." (๖)
                ในขณะเดียวกันก็ได้โปรดให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเป็นกองอาสาสมัครสมัครในทำนอง Home Guard ของอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บุคคลพลเรือนไม่ว่าจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้าคหบดีที่มิได้เป็นทหารสมัครเข้าเป็นสมาชิกเสือป่าได้ตามความสมัครใจ ซึ่งในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกเสือป่านี้ นอกจากผู้สมัครจะต้องชำระเงินค่าสมาชิก ต้องจัดหาเครื่องแต่งกายของตนเองแล้ว ยังต้องมารับการฝึกหัดตามกำหนดเวลา หากเกียจคร้านจะถูกปรับและยังอาจถูกประจานให้ได้รับความอับอายอีกด้วย
                ในการถือน้ำพระพิพัฒสัตยาเสือป่า ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อันถือว่าเป็นวันสถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ นั้น มีสมาชิกเข้าร่วมพิธีเพียงร้อยคนเศษ จากนั้นได้โปรดให้ขยายการรับสมาชิกออกไป ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งปรากฏว่าในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นมีสมาชิกเสือป่าทั่วประเทศ กว่าหมื่นสามพันคน สมาชิกเสือป่าส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั่วทุกจังหวัด รวมทั้งพ่อค้าคหบดี ซึ่งล้วนเป็นผู้มีการศึกษา การฝึกหัดสั่งสอนจึงเป็นไปได้โดยง่าย ต่างจากทหารเกณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน การฝึกหัดสั่งสอนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
                สมาชิกเสือป่าที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วนอกจาก  ".....มีกำลังวังชาขึ้นทันตาเห็น ผู้ที่เคยต้องคอยประคับประคอง ก็มาแขงแรงขึ้น จนเลี้ยงตัวได้มากขึ้นเปนลำดับ ที่เคยอ่อนแอก็กลับแขงแรง ที่เคยตามใจตัวอยู่เปนเนืองนิตย์ก็กลับคิดทรมานจิตรของตน ให้นึกถึงผู้อื่นและนึกถึงคน ที่เคยสำมะเลเทเมาอยู่ก็มาลดหย่อนลง และตั้งใจกลับตัวประพฤติให้เรียบร้อย ข้อนี้เจ้าพระยายมราชอ้างพยานให้เห็นปรากฏ คือ ร้านขายเหล้าพากันร้องว่าขายตกไป ยังมิหนำซ้ำ เสือป่าแข่งกันหาชื่อเสียงในทางช่วยกองตระเวณจับผู้ประพฤติชั่วต่าง ๆ อยู่แทบทุกวัน....."(๗) นอกจากนั้นในด้านความสามัคคีในหมู่ข้าราชการต่างกระทรวงซึ่งแต่เดิม "ความสามัคคีในหมู่ข้าราชการต่างกระทรวงไม่ใคร่จะมีต่อกัน เพราะต่างคนต่างคิดแต่จะหาความชอบความดีในแพนกของตน และต่างคนต่างมุ่งนิยมอยู่แต่เฉภาะในตัวบุคคลผู้เป็นนายเหนือตน"(๘) นั้น ก็ได้รับการเยียวยารักษาจนหายขาดด้วยยาขนานเอกคือ "เสือป่า" นั้นเอง
                ในด้านการจัดการปกครองกองเสือป่านั้น ในชั้นต้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระยศเป็นนายกองใหญ่ นายกเสือป่า และผู้บังคับการกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ ครั้นเมื่อสมาชิกเสือป่าขยายตัวเพิ่มขึ้นจนมีเสือป่ากระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแบ่งกองกำลังเสือป่าออกเป็นกรมเสือป่ารักษาดินแดน แล้วขยายขึ้นเป็นกองเสนาในทำนองเดียวกับกองพลทหารบก โดย
                กองเสนาหลวง  หมายถึง กองเสือป่าซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาด้วยพระองค์เอง สมาชิกส่วนใหญ่ล้วนเป็นข้าราชสำนัก จัดอัตรากำลังเป็น
                            กองเสนาน้อยราบหนัก  เปรียบได้กับกองพลทหารราบ ประกอบด้วย
                                กรมเสือป่าราบหลวง
                                กรมเสือป่าปืนใหญ่หลวง
                                กรมเสือป่าม้าหลวง
                                กองเสือป่าเดินข่าวหลวง
                                กองเสือป่าช่างหลวง
                                กรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
                        กองเสนาน้อยราบเบา  เปรียบได้กับกองพลน้อยทหารราบเบา ประกอบด้วย
                                กรมเสือป่าพรานหลวง
                                กรมนักเรียนเสือป่าหลวง
                ในส่วนภูมิภาคก็โปรดให้จัดเป็นกองเสนารักษาดินแดนกระจายกันอยู่ตามมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นผู้บริหารราชการสูงสุดในแต่ละมณฑลทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองเสนาโดยตำแหน่ง
                ในด้านการฝึกอบรมสมาชิกเสือป่านั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงฝึกสอนสมาชิกเสือป่า ในส่วนกลางที่สนามเสือป่าด้วยพระองค์เองโดยตลอด และในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี ก็จะทรงนำสมาชิกเสือป่ากองเสนาหลวง และกองเสือป่ารักษาดินแดนกรุงเทพ ไปฝึกซ้อมรบในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและราชบุรี ร่วมกับกองทหาร กองเสือป่าและลูกเสือในพื้นที่มณฑลนครไชยศรีและมณฑลราชบุรีเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อฝึกหัดให้ทหาร และเสือป่า มีความชำนาญในภูมิประเทศและให้เสือป่าได้รับการฝึกหัดการทำหน้าที่ผู้ช่วยทหารในการสอดแนม และการลาดตระเวณ รวมถึงการฝึกซ้อมวิธียุทธทั้งเต็มรูปแบบและจรยุทธ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เสือป่ามีความรู้ความสามารถในเชิงการทหาร สามารถตั้งรับและยันข้าศึกที่ยกกำลังจู่โจมเข้ามา มิให้ล่วงล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขต เพื่อรอกำลังทหารเคลื่อนพลจากที่ตั้งมาผลัดเปลี่ยน ดังปรากฏแนวพระราชดำรินี้ในบทพระราชนิพนธ์ละครพูดเรื่อง "หัวใจนักรบ"
                นอกจากนั้นการที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปซ้อมรบในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและราชบุรีทุกปี นั้น รวมทั้งการที่ได้โปรดให้จัดวางกำลังพลไว้ในสองมณฑลนี้ ถึงสองกองพลทหารราบ และยังได้โปรดให้ตัดถนนทรงพล เป็นถนนยุทธศาสตร์ เชื่อมระหว่างพระราชวังสนามจันทร์กับจังหวัดราชบุรี เพื่อสะดวกแก่การลำเลียงพล ในขณะที่เส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพ ฯ ไปสู่นครปฐมกลับโปรดให้ตัดถนนแต่ให้ใช้ทางรถไฟแทนนั้น คุณมหาดเล็กซึ่งได้เคยรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เล่าไว้ว่า หากมีเหตุการณ์เช่นกรณี ร.ศ. ๑๑๒ หรือการยกพลขึ้นบกในคาบสมุทรมลายู ก็จะทรงใช้พระราชวังสนามจันทร์เป็นสถานที่มั่นสุดท้ายในการป้องกันประเทศ เพราะชัยภูมิในเขตมณฑลนครไชยศรี และราชบุรีนั้น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยลำคลอง ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมของชาวไทยมาช้านาน หากถอดรางรถไฟออกเสีย ข้าศึกก็จะต้องกำลังไปทางลำน้ำ ซึ่งสะดวกแก่ฝ่ายเราในการซุ่มโจมตี หากจะยกพลขึ้นบกในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ก็ไม่สามารถทำได้เพราะชายหาดแถบนี้ล้วนเป็นดินเลนและโคลนเป็นส่วนใหญ่ไม่สามารถลำเลียงอาวุธหนักเข้ามาได้ หากจะยกทัพข้ามมาทางด่านเจดีย์สามองค์ก็จะต้องผจญกับความยากลำบากของพื้นที่ ซึ่งเป็นการยากที่จะจู่โจมเข้ามา โดยฝ่ายเราไม่ทันตั้งรับก่อนได้เลย

                การที่จะเอาสัตหีบเป็นฐานทัพเรือนั้น ก็ตรงตาม
    ความปราถนาของเราอยู่แล้ว, เพราะที่เราได้สั่งหวง
    ห้ามเรื่องที่ดินไว้ก็ด้วยความตั้งใจ จะให้เปนเช่นนั้น,
    แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา ที่จะให้เปนฐานทัพเรือ
    และไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น, จึงได้กล่าวไว้ว่า จะต้องการ
    ที่ไว้ทำวัง สำหรับเผื่อที่จะมีผู้ขอจับจอง ฝ่ายเทศาภิบาล
    จะได้ตอบอนุญาตได้โดยอ้างเหตุว่า"  พระเจ้าอยู่หัว
    ต้องพระประสงค์" เมื่อบัดนี้ทหารเรือจะต้องการที่นั้น
     ก็ยินดีอนุญาตให้
     
     (ส่งไปทางมหาดไทยด้วย)
     
                                                                                ราม ร
     

                นอกจากนั้นในตอนปลายรัชกาลยังได้โปรดให้จัดตั้งกรมราชนาวีเสือป่าขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของกองเสือป่า ทำหน้าที่เป็นกองลาดตระเวณทางลำน้ำ มีการฝึกหัด และจัดรูปแบบการปกครองกองกำลัง ในทำนองเดียวกับทหารเรือ ประกอบไปด้วยกองพันหลวงราชนาวีเสือป่า และกองพันราชนาวีเสือป่ากระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเล โดยใช้เรือประมงและเรือที่เดินในลำน้ำเป็นกำลังหลัก
                ด้วยพระปรีชาสามารถทางการทหารซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้ปรากฏพระเกียรติคุณ มาแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งนอกจากจะทรงนำประเทศไทย ให้รอดพ้นจากลัทธิล่าอาณานิคม ทั้งยังช่วยให้ประเทศไทยได้รับก้าวขึ้นสู่การยอมรับจากนานาประเทศ จนสามารถยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และภาษีร้อยชักสามซึ่งมีผลริดรอนสิทธิของไทย มาเป็นเวลาร่วมร้อยปีลงได้แล้ว เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ ๕ พระราชาธิบดีแห่งประเทศอังกฤษ ยังได้มีพระราชโทรเลข เชิญให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นนายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษ และในขณะเดียวกันสมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ ๕ ก็ได้ทรงตอบรับเชิญเป็นนายพลเอก นายทหารพิเศษของกองทัพบกไทย

    "…..การที่พระราชาธิบดีประเทศใด ๆ ในบูรพทิศจะได้รับเกียรติยศเป็นนายพลพิเศษ ในกองทัพบกของประเทศยุโรป ยังหาได้เคยมีมาแต่ก่อนไม่ และการที่พระราชาธิบดีแห่งมหาประเทศใด ๆ ในยุโรป จะได้ทรงรับพระยศเป็นนายพลพิเศษ ในกองทัพประเทศใด ๆ ในบูรพทิศนี้ ก็ยังไม่เคยมีมาเลยเหมือนกัน….."

    ----------------------------
    เชิงอรรถ


      น้ำพระราชหฤทัยของพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”.  วชิราวุธนุสรณ์ ปีที่ ๕ (๑๑ พฤษจิกายน ๒๕๒๘) หน้าที่ ๔๙

    • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.วิวาหพระสมุท, หน้า ๒๐๑ - ๒๐๒.
    • พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา).
    • ในรัชกาลที่ ๖ ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศและอิสริยศักดิ์เป็น จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาธิการกระทรวงกลาโหม
    • กรมทหารพรานในสมัยนั้น เปรียบได้กับกรมทหารราบเบาของกองทัพอังกฤษ เป็นหน่วยทหารราบที่ใช้อาวุธประจำกายขนาดเล็ก สามารถเคลื่อที่ได้รวดเร็วประดุจทหารม้า
    • กองดหมายเหตุแห่งชาติ, กอง. ร.๖ ก..๗/๓ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๖ กระทรวงหลาโหม – ทหารเรือ เรื่องจัดการทหารและเกณฑ์ทหารมณฑลปักษ์ใต้ (ลายพระหัตถ์ จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรี  สุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม กราบทูล นายพลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๕๖)
    • จดหมายเหตุแห่งชาติ, กอง. ร.๖ ก..๗/๓ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๖ กระทรวงกลาโหม – ทหารเรือ เรื่องจัดการทหาร และเกณฑ์ทหารมณฑลปักษ์ใต้ (ลายพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหม, กระทรวงวัง เรื่องให้ทำความเข้าใจในหน้าที่กรมทหารรักษาวัง)
      ปลื้มใจด้วยเสือป่าและลูกเสือ”, จดหมายเหตุรายวันใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า ๓๔ - ๓๕.
    • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • เพิ่งอ้าง.หน้า ๓๕

    บรรณานุกรม


    • จดหมายเหตุแห่งชาติ, กอง. ร.๖  ก..๗/๓ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๖ กระทรวงหลาโหม – ทหารเรือ เรื่อง
    • จัดการทหารและเกณฑ์ทหารมณฑลปักษ์ใต้ (ลายพระหัตถ์ จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรี
    • สุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม กราบทูล นายพลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
    • สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๕๖)
    • จดหมายเหตุแห่งชาติ, กอง. ร.๖ ก..๗/๓ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๖ กระทรวงกลาโหม – ทหารเรือ
    • เรื่องจัดการทหารและเกณฑ์ทหารมณฑลปักษ์ใต้ (ลายพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • ถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหม, กระทรวงวัง เรื่องให้ทำความเข้าใจในหน้าที่กรมทหารรักษาวัง)
    • แต่มจันทร์ วงศ์วิเศษ, นางสาว. การปรับปรุงกองทัพบกของไทยตามแบบตะวันตก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๗๕.
    • วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๑๙. (อัดสำเนา)
    • ภัทริน วรรณแสง ร.น., เรือโทหญิง. “ฐานทัพเรือสัตหีบ”, สารานุกรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๔. (คณะกรรมการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๘ รอบ และ ๑๐๐ ปี ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเปิดหอวชิราวุธานุสรณ์ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔.
    • เทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา), พลเอก พระยา. “น้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”.
      วชิราวุธานุสรณ์สาร ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔
      . พระนคร : ตีรณสาร, ๒๕๐๑. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก พระยาบุรุษ  รัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑).
      (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๘). กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
    • บุรุษรัตน
    • ประภาส จารุเสถียร, จอมพล. “ความมั่นคงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”, วชิราวุธานุสรณ์สาร ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๒ (๖ เมษายน ๒๕๓๗). กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
    • ปิ่น มาลากุล, หม่อมหลวง. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า. คณะกรรมการที่ปรึกษา การก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และค่ายหลวงบ้านไร่ จัดพิมพ์ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และค่ายหลวงบ้านไร่ ที่ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธา - ราม จังหวัดราชบุรี ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๑). กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์, ๒๕๓๑.
    • มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุรายวัน ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
    • กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๑๗. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗).
    • มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทพระ. วิวาหพระสมุท . พระนคร : รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๕.
    • มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทพระ. พระราชดำรัสร้อยครั้ง. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์, ๒๕๒๙. (คณะกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์ในงานพระบรมราชานุสรณ์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๙).
    • สุจิรา ศิริไปล์, นาง. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสงครามโลกครั้งที่๑.  กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์, ๒๕๒๘. (คณะกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์ในงานพระบรมราชานุสรณ์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๘).
    • อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น. เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์ รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอน ๑ - ๔. พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๔.
    • อุดม ทีฆทรัพย์ ร.น., เรือเอก. “ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม”, สารานุกรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๔. (คณะกรรมการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๘ รอบ และ ๑๐๐ ปี ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเปิดหอ วชิราวุธานุสรณ์ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔.

    --------------------------

    หมายเหตุ : เรียบเรียงจากข้อเขียนของคุณ วรชาติ มีชูบท กรรมการและ ผช.เลขานุการ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูป





                อนึ่ง  เมื่อเกิดสงครามขึ้นในทวีปยุโรป ซึ่งต่อมาได้ขยายขึ้นเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้น ในระยะแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดให้ประเทศไทยอยู่ในฝ่ายเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนี่ง ทรงรอจนฝ่ายเยอรมนีและออสเตรีย – ฮังการี ซึ่งเรียกกันว่า ฝ่ายมหาอำนาจกลางขยายแนวรบออกไปจนทั่วภาคพื้นยุโรป ในครั้งนั้น ได้รับการปรึกษาหารือถึงท่าทีของประเทศไทยต่อสถานการณ์สงครามในครั้งนี้ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ และเสนาบดีทั้งหลายไม่มีใครเห็นด้วยกับพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่พระองค์เห็นว่าไทยจะต้องเข้ากับฝ่ายที่เป็นธรรม เพื่อรักษาธรรม ผู้ที่ไม่กล้าลงทุนอะไรย่อมไม่ได้อะไร เกียรติและเสรีภาพของมนุษยชาติ กำลังถูกคุกคาม ไทยต้องเข้าช่วยรักษาไว้ให้จงได้ จึงได้ทรงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีและออสเตรีย – ฮังการี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร และได้โปรดให้เปิดรับสมัครบุคคลจัดเป็นกองทหารอาสา ประกอบไปด้วยกำลังพล ๑,๕๐๐ คน แยกเป็นกองทหารบกรถยนต์ ๑,๐๐๐ คน และกองบินทหารบก ๕๐๐ คน ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นด้วย
                กองทหารอาสาได้ออกเดินทางจากประเทศไทยในต้นปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เมื่อเดินทางถึงฝรั่งเศสแล้ว กองทหารบกรถยนต์และกองบินทหารบกต่างก็แยกย้ายเข้ารับการฝึกหัด กองทหารบกรถยนต์ ซึ่งได้รับการฝึกหัดแล้ว ได้เข้าทำการในสนามด้วยความกล้าหาญ ร่วมกับกองทหารฝรั่งเศส จนได้รับตราครัวซ์ เดอ แกร์ร (Croix de Guerre) ซึ่งเป็นเหรียญกล้าหาญของฝรั่งเศสประดับธงไชยเฉลิมพลเป็นเกียรติยศ ส่วนกองบินทหารบกเนื่องจากต้องใช้เวลาฝึกอบรมเป็นเวลานาน เมื่อสงครามสงบลงแล้วยังฝึกไม่เสร็จ แต่เพื่อมิตรภาพอันดีกองทัพฝรั่งเศส ยังได้เอื้อเฟิ้อฝึกฝนนายทหารไทยต่อมาจนสำเร็จ เป็นนักบิน และช่างซ่อมอากาศยานโดยไม่คิดมูลค่า และสามารถกลับมาจัดตั้งกรมอากาศยานทหารบกขึ้นในกองทัพบกไทย ก่อนที่จะได้พัฒนามาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน
                ในด้านการป้องกันพระราชอาณาจักรทางทะเล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีถึงพระราชอาณาเขต ที่มีชายฝั่งติดทะเล ทั้งทางด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นระยะทางยาวกว่าสองพันกิโลเมตร แต่ราชนาวีไทยยังหาได้มีเรือรบขนาดใหญ่ พอที่จะรักษาอธิปไตยในน่านน้ำของเราได ้เมื่อมีข้าราชการกลุ่มหนึ่งทั้งใน และนอกพระราชสำนัก ร่วมกับประชาชนผู้มีความจงรักภักดี ในเบื้องพระยุคลบาทรวมตัวกันจัดตั้งสมาคม เพื่อจัดการเรี่ยไรเงินเพื่อซื้อหรือสร้างเรือรบถวายไว้ใช้ในราชการกองทัพเรือ ในพ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ได้โปรดพระราชทานนามสมาคมนั้นว่า ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโปรดพระราชทานนามเรือที่จะซื้อนั้นว่า "พระร่วง" ตามพระนามของวีรกษัตริย์อันเป็นที่นิยมนับถือของชาวไทย พร้อมกันนั้นได้โปรดพระราชทานเงินทุนส่วนพระองค์จำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนประเดิม นอกจากนั้นยังได้ทรงจัดการแสดงละครพระราชนิพนธ์ การแสดงภาพเขียน ฯลฯ เพื่อจัดหารายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่ายพระราชทานไปสมทบในการจัดซื้อเรือพระร่วงอีกหลายคราว
                อนึ่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสชายทะเล มณฑลจันทบุรีโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี ในการนี้กระทรวงทหารเรือ ได้จัดการซ้อมรบ และสวนสนามทางเรือ ถวายพระเกียรติยศเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ไทยในบริเวณอ่าวสัตหีบ และในโอกาสนี้ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศ ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขา อ่าวใหญ่ และหมู่เกาะอันเร้นลับ เหมาะแก่การจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือ เพราะสามารถจอดพักเรือรบเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากยังไม่สมควรแก่เวลาในการสร้างฐานทัพเรือและเพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ อันอาจเกิดขึ้นได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศพระบรมราชโองการสงวนที่ดินชายฝั่งทะเลตำบลสัตหีบ และบริเวณใกล้เคียง ทั้งเกาะใหญ่น้อยตามชายฝั่ง เพื่อสร้างพระราชวัง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๓ กระทรวงทหารเรือได้สำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลสัตหีบแล้วเห็นว่า พื้นที่บริเวณอ่าวสัตหีบ เป็นที่มีชัยภูมิเหมาะสมที่จะจัดเป็นฐานทัพเรือ ต่อมาวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ นายพลเรือเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เสนาธิการทหารเรือ จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพื้นที่อ่าวสัตหีบ ซึ่งโปรดให้สงวนไว้เพื่อใช้ราชการเป็นฐานทัพเรือ และได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินดังกล่าวนั้น ให้ตามความประสงค์ของกระทรวงทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ดังรายละเอียดปรากฏในลายพระราชหัตถเลขา ดังนี้

                นับแต่ประเทศไทยเริ่มเปิดความสัมพันธ์กับชาติมหาอำนาจตะวันตกในตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประเทศไทยก็เริ่มประสบภัยคุกคาม จากนานาประเทศตะวันตก ทั้งในด้านการทหารและเศรษฐกิจ ทำให้ต้องเสียสิทธิในการเรียกเก็บภาษีอากร และจำต้องเสียดินแดนบางส่วน เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีถึงภัยคุกคาม จากลัทธิล่าอาณานิคมดังกล่าว มาแต่ทรงพระเยาว์ เหตุการณ์สำคัญที่น่าจะทรงรำลึกอยู่มิรู้ลืมคือ กรณี ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะได้เสด็จออกไปทรงศึกษาวิทยาการ ณ ประเทศอังกฤษเพียงเดือนเศษ ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับความโทมนัสอย่างแสนสาหัส
                จากเหตุการณ์ดังกล่าวรวมทั้งการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำต้องทรงสละดินแดนบางส่วนของประเทศ เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้นั้น ก็เพราะการขาดความพร้อมด้านกำลังทหาร
    สมดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch